ผลของโปรแกรมการรับส่งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์โดยแนวคิดลีนต่อประสิทธิภาพการรับส่งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ งานจ่ายกลาง โรงพยาบาลหนองคาย

ผู้แต่ง

  • อิฏฐิวรรณ พิมพศักดิ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลหนองคาย
  • นงนุช ลานอุ่น พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลหนองคาย

คำสำคัญ:

การรับและส่งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์, Lean Concepts, งานจ่ายกลาง

บทคัดย่อ

     การวิจัยเรื่อง ผลของโปรแกรมการรับส่งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์โดยแนวคิดลีนต่อประสิทธิภาพการรับส่งอุปกรณ์เครื่องมือทางแพทย์ งานจ่ายกลาง โรงพยาบาลหนองคาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1)เปรียบเทียบผลของการรับส่งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์งานจ่ายกลาง ด้านความถูกต้อง มีประสิทธิภาพพร้อมใช้งาน และทันเวลา ระหว่างรูปแบบเดิมและรูปแบบ Lean Concepts 2) เปรียบเทียบผลการปฏิบัติตามแนวทางการรับส่งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์งานจ่ายกลางระหว่างรูปแบบเดิมและรูปแบบ Lean Concepts และ 3) ความพึงพอใจของบุคลากรต่อการรับส่งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์รูปแบบ Lean Concepts เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi experimental research) ชนิดสองกลุ่มเปรียบเทียบ ระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลองกลุ่มละ 77 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แนวทางปฏิบัติการรับส่งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์รูปแบบเดิม และ 2)แนวทางปฏิบัติการรับส่งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์แบบ Lean Concepts  สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย t-test Independent และ Chi-square
     ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบการประเมินการปฏิบัติตามแนวทางการรับส่งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ ระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) การรับส่งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ปนเปื้อนของบุคลากรงานจ่ายกลาง ตอบว่า ถูกต้อง สูงสุด คือ มีการขนย้ายอุปกรณ์ที่ใช้แล้วด้วยความระมัดระวัง การรับส่งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ปราศจากเชื้อของบุคลากรงานจ่ายกลาง มีผู้ตอบถูกคือ การวางอุปกรณ์ปราศจากเชื้อในตำแหน่งที่ตกลงกับทางหน่วยงาน  การรับส่งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ปนเปื้อนของบุคลากรงานจ่ายกลาง ตอบว่า ถูกต้อง ตอบว่า พร้อมใช้  คิดเป็นร้อยละสูงสุด คือ มีการขนย้ายอุปกรณ์ที่ใช้แล้วด้วยความระมัดระวัง การรับส่งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ปราศจากเชื้อของบุคลากรงานจ่ายกลาง มีผู้ที่ตอบสูงสุด คือ การวางอุปกรณ์ปราศจากเชื้อในตำแหน่งที่ตกลงกับทางหน่วยงาน การรับส่งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ปนเปื้อนของบุคลากรงานจ่ายกลาง ตอบว่า ถูกต้อง ทันเวลา คิดเป็นร้อยละสูงสุด คือ มีการขนย้ายอุปกรณ์ที่ใช้แล้วด้วยความระมัดระวัง การรับส่งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ปราศจากเชื้อของบุคลากรงานจ่ายกลาง คือ การวางอุปกรณ์ปราศจากเชื้อในตำแหน่งที่ตกลงกับทางหน่วยงาน  3) ความพึงพอใจของกลุ่มควบคุม โดยรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.82 เมื่อแยกวิเคราะห์เป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุดคือ ความพึงพอใจสูงสุด คือ เวลาในการรับส่ง

References

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. (2559). บัญชีตัวชี้วัดเปรียบเทียบโครงการพัฒนาระบบ สารสนเทศเปรียบเทียบวัดระดับคุณภาพโรงพยาบาล(Thailand Hospital Indicator Project: THIP). Retrieved from http://www.thip2.com/member/login

อะเคื้อ อุณหเลขกะ. (2559). หลักและแนวปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล. เชียงใหม่: มิ่งเมืองนวรัตน์.

ชมรมควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล.(2566). การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล.[อินเตอร์เนต]. เข้าถึงได้จาก:http://wecache.googleusercontent.com/.[เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2566].

เพ็ญวิสาข์ เอกกะยอและวัชรวลี ตังคัปตานนท์. (2555). การใช้หลักการลีนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บเอกสาร และออกเลขหนังสือด้วยซอฟต์แวร์เสรีกรณีศึกษาสํานักงานโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา,

ไพรจิตรา จันทศิลป์, นางกอบเกื้อ พลเจริญ, นางสมจิตร รินเพ็ง และคณะ.(2558).การลดการ Re – sterile เครื่องมือทางการแพทย์ งานจ่ายกลาง โรงพยาบาลเพ็ญ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี.

ประเสริฐ ศรีบุญจันทร์และบุตรี ลักษรา ปัญญากุล. (2551). การปรับปรุงกระบวนการผลิตกระจกด้วยการผลิตแบบ Lean, การประชุมวิชาการเครือข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ, 20-22 ตค 51:614-621

พันธภา พิญญะคุณ. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริการคลินิกเบาหวาน โดยประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีน โรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบันฑิต), มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30