ผลของการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด ต่อมลูกหมากโต งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลหนองคาย

ผู้แต่ง

  • พยอม เกียงแก้ว พยาบาลวิชาชีพ สังกัด โรงพยาบาลหนองคาย จังหวัดหนองคาย
  • ลิกิจ โหราฤทธิ์ พยาบาลวิชาชีพ สังกัด โรงพยาบาลหนองคาย จังหวัดหนองคาย

คำสำคัญ:

ความวิตกกังวล, การเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด, ผู้ป่วยต่อมลูกหมากโต

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) ชนิดกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (one-group  pre-test post-test design) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนความวิตกกังวล ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดต่อมลูกหมาก และความพึงพอใจหลังได้รับโปรแกรมการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดต่อมลูกหมาก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยต่อมลูกหมากโต จำนวน 30 คน ระหว่างเดือนธันวาคม 2566 - เมษายน 2567 คัดเลือกอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความวิตกกังวล แบบประเมินความพึงพอใจ และโปรแกรมการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดต่อมลูกหมาก วิเคราะห์ด้วยข้อมูลทางสถิติโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ test dependent และ test for dependent Samples
     ผลการศึกษา พบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต่อมลูกหมากโต ของผู้ป่วยก่อนการทดลอง พบว่า คะแนนค่าเฉลี่ยหลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลน้อยกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, 2) ผลการเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต่อมลูกหมากโต พบว่า ก่อนการทดลอง คะแนนค่าเฉลี่ยหลังการทดลองมากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต่อมลูกหมากโต พบว่า ข้อที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ รู้สึกมั่นใจในการเตรียมความพร้อมได้ถูกต้อง รองลงมาคือ หลังได้รับความรู้แล้วท่านรู้สึกวิตกกังวล หลังการทดลอง ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต่อมลูกหมากโต พบว่า ข้อที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ สื่อการสอนเหมาะสม รองลงมา คือ ระยะเวลา สถานที่เหมาะสม และเป็นกิจกรรมที่ดีควรจัดอย่างต่อเนื่อง ส่วนข้อที่มีค่าคะแนนต่ำสุด คือ หลังได้รับความรู้แล้วท่านรู้สึกวิตกกังวล

References

Pietrzyk,B.,Glinianowicz,M.O.,Owczarek,A.,Gabryelewicz,T.,Rachtan,A.A.,Prajsner,A.,& Chudek,J.(2015).Depressive symptoms in patients diagnosed with benign prostatic hyperplasia. International Urology and Nephrology,47,431-440.doi:10.1007/s11255-015-0920-5

McVary,K.,Roehrborn,C.,Avins,A.,Barry,M.,Bruskewitz,R.,Donnell,R.,el al.(2011).Update on AUA guideline on the management of benign prostatic hyperplasia.The Journal of Urology,185(5),1793-1803.doi:10.1016/j.juro.2011.01.074

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, (2556). สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2556. นนทบุรี: สามเจริญพานิชย์ (กรุงเทพ)

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, (2557). สถิติสำธำรณสุข พ.ศ.2557. นนทบุรี: สามเจริญพานิชย์ (กรุงเทพ).

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, (2558). สถิติสำธำรณสุข พ.ศ.2558. นนทบุรี: สามเจริญพานิชย์ (กรุงเทพ).

Harrison,J.H.,Gittes,R.F.,Perlmutter,A.D.,Stamey,T.A.,&Walsh,P.C.(1979).Campbell’s ROLOGY(4th).Philadelphia,PA:W.B.Saunders.

Tanagho,E.A.,&McAninch,J.W.(1988).Smith’sGenneralUrology(12th).EastNorwalk,CT: Appleton & Lange.

กรรณิการ์ ศุภกิจอนันต์.(2562).ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในผู้ป่วยที่ได้รับการสวนล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง(Continuous bladder irrigation: CBI) ภายหลังผ่าตัดต่อมลูกหมากโตผ่านท่อปัสสาวะ (TURP)โรงพยาบาลอุดรธานี.วารสารโรงพยาบาลอุดรธานี;27(3):285-293.

บุญมี สันโดษ.(2561).ผลการพยาบาลโดยประยุกต์ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็ม ต่อความสามารถในการปฏิบัติตนในการดูแลตนเอง ภาวะแทรกช้อนความสามารถในการขับถ่ายปัสสาวะ และจำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดต่อมลูกหมากทางท่อปัสสาวะ.วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม;7(1):1-16.

Welch,L.,Taubenberger,S.,&Tennstedt,S.(2011).Patients’experiences of seeking health care For lower urinary tract symptoms.Research in Nursing & Health,34(6),496-507.doi:10.1002/nur.20457

Thiruchelvam,N.(2014).Benign prostatic hyperplasia.Surgery(oxford).32(6),314-322.doi:10.1016/j.mpsur.2014.04.006

โรงพยาบาลหนองคาย.(2566).ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ โรงพยาบาลหนองคาย.หนองคาย: โรงพยาบาลหนองคาย.

ลุนนี จิ่มอาษา และวัลลภา ช่างเจรจา.(2563).ผลของโปรแกรมการเตรียมผ่าตัดต่อความวิตกกังวลและภาวะแทรกซ้อนในการผ่าตัดต้อกระจก แผนกจักษุ โรงพยาบาลบึงกาฬ.วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม;4(7):75-87.

สราวุฒิ สีถาน.(2557).ปัจจัยทำนายการฟื้นตัวของผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง.[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยมหิดล].

Spielberger. C. D., Gorsuch. R.L., & Lushene, R.E.(1970). STAI manual. Florida: Condulting Phychologists Press.

ศุภางค์ ดำเกิงธรรม,ยุพาพร หงส์สามสิบเจ็ด และเพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล.(2563). ผลการใช้สื่อวิดีJoทัศน์เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนเข้ารับการระงับความรู้สึกต่อความรู้และความวิตกกังวลในผู้ป่วยผ่าตัดกระดูก โรงพยาบาลแพร่.Journal of the Phrae Hospital;29(1):50-64.

วรรณวิศา ปะเสทะกัง และณิชาภัตร พุฒิคามิน (2564).ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดเนื้องอกสมอง.วารสารสภาการพยาบาล;36(4):80-93.

จุฑาพร ศรีจันทร์,จุฬารักษ์ กวีวิวิธชัย,นรีมาเลย์ นีละไพจิตร และคณะ.(2561).ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถแห่งตน และวิดีทัศน์การ์ตูนแอนิเมชั่น ต่อความรู้ ความวิตกกังวล และการรับรู้ความสามารถแห่งตนของผู้ป่วยที่ได้รับการสวนหัวใจ.วารสารสภาการพยาบาล;33(1):89102.

รศักดิ์ ขวัญเจริญทรัพย์.(2564).การพัฒนารูปแบบการดูแลพระสงฆ์อาพาธได้รับการผ่าตัดต่อมลูกหมากผ่านทางท่อปัสสาวะ ในโรงพยาบาลสงฆ์.วารสารสาธารณสุขล้านนา;17(2):63-77.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

How to Cite

เกียงแก้ว พ., & โหราฤทธิ์ ล. (2024). ผลของการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด ต่อมลูกหมากโต งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลหนองคาย. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(3), 240–250. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2723