รูปแบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ตำบลเหล่าแดง อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ปรัชญา สุนา นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • อารี บุตรสอน อาจารย์ประจำวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี Corresponding author

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การดูแลระยะยาว, ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ตำบลเหล่าแดง อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนากระบวนการประกอบด้วย ผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ครอบครัวผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ประชาชน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รวม 62 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น จำนวน 20 สัปดาห์ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการรวบรวม จัดหมวดหมู่ วิเคราะห์เนื้อหา และเปรียบเทียบผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นโดยใช้สถิติ paired t-test
     ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ตำบลเหล่าแดง อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี คือ ACICC Model ประกอบด้วย 1) Accessibility: การเข้าถึงระบบบริการ 2) Continuity of care: การดูแลอย่างต่อเนื่อง 3) Integrated care: การบริการแบบผสมผสาน 4) Coordination of care: การประสานการดูแล 5) Community empowerment: การเสริมพลังชุมชน

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). สถิติผู้สูงอายุ (ออนไลน์). [สืบคันเมื่อ 10 มกราคม 2567], แหล่งข้อมูล https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/2387.

กรมสุขภาพจิต. (2563). ก้าวย่างของประเทศไทย สู่‘สังคมผู้สูงอายุ’อย่างสมบูรณ์แบบ. กระทรวงสาธารณสุข

สำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ. (2564). รูปแบบการให้บริการ LTC. สำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. (2565). แผนปฏิบัติราชการสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ปีงบประมาณ 2565. อุบลราชธานี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี.

องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าแดง. (2566). ข้อมูลสถิติผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงที่ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงองค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าแดง. อุบลราชธานี: องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าแดง.

Kemnis S, Mc Tagart R. The action research planner. Victoria: Deakin University; 1988.

สมบูรณ์ เพ็ญพิมพ์ และอารี บุตรสอน. (2566). รูปแบบการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นเขต 10 อุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งประเทศไทย. 5(1): 46-55; มกราคม, 2566.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดกุล และคณะ. เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกทุก 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข, 2540.

อนุชา ลาวงศ์ และคณะ. (2564). รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนท้องถิ่น จังหวัดร้อยเอ็ด. Journal of Modern Learning Development. 6 (2), 268-277.

ชาญชัย เหลาสาร, กัลยา ไชยสัตย์, และวชิราภรณ์ วิทยาขาว. (2563). การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบมีส่วนร่วมของศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเวียง ตำบลกระเดียน อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(5), 813–821.

บุหลัน สุขเกษม, มลฤทัย ทองพิละ และศริยา ศิริปรุ. (2565). รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมือง อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (2565):71-81; กันยายน – ธันวาคม.

ทัศวรรณ์ เจริญวงศ์ (2563). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านในชุมชนโดยแนวทางนักบริบาลผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบก ตำบลหนองทันน้ำ อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุวิมลรัตน์ รอบรู้เจน. (2560). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 (2017):57-69; กันยายน-ธันวาคม 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30