ผลของการปฏิบัติตามกระบวนการวางแผนจำหน่ายโดยใช้ D-METHOD ต่อพฤติกรรมดูแลตนเองด้านโภชนาการและระดับเฟอร์ริตินในผู้ป่วยเด็กโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดพึ่งพาการให้เลือด

ผู้แต่ง

  • สุมนา แจ้งวัง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หัวหน้าแผนกผู้ป่วยนอกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลหนองคาย
  • เกศกัญญา ไชยวงศา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก Corresponding author
  • ศิรินุช เปรมโต พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ แผนกผู้ป่วยนอกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลหนองคาย

คำสำคัญ:

การวางแผนจำหน่าย, D-METHOD, โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย, ชนิดพึ่งพาการให้เลือด ระดับเฟอร์ริติน

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบวัดผลก่อนและหลังทดลองโดยเลือกกลุ่มตัวอย่างมาเพียงกลุ่มเดียวทำการวัดซ้ำ 4 ครั้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมดูแลตนเองด้านโภชนาการและระดับปริมาณเฟอร์ริตินในเลือดในผู้ป่วยเด็กโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดพึ่งพาการให้เลือด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองและผู้ป่วยเด็กโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดพึ่งพาการให้เลือด ที่มารับการรักษาแผนกผู้ป่วยนอกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลหนองคาย ตั้งแต่เดือนมกราคม - เดือนเมษายน 2567 จำนวน 36 คน โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับการดูแลตามกระบวนการวางแผนจำหน่ายโดยใช้ D-METHOD เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการประเมินพฤติกรรมดูแลตนเองด้านโภชนาการ และตรวจระดับปริมาณเฟอร์ริตินในเลือดก่อนและหลังทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบระดับปริมาณเฟอร์ริตินในเลือดด้วยสถิติ Paired t-tests เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมดูแลตนเองด้านโภชนาการด้วยสถิติ Repeated measurement ANOVA
     ผลวิจัยพบว่า เปรียบเทียบคะแนนค่าเฉลี่ยรายคู่พฤติกรรมดูแลตนเองด้านโภชนาการจากการประเมินครั้งที่ 1 (ก่อนทดลอง) กับครั้งที่ 2 (สัปดาห์ที่ 4), ครั้งที่ 3 (สัปดาห์ที่ 8) และครั้งที่ 4 (สัปดาห์ที่ 12) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F (2.61, 91.20) = 31.342, p< .001) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับปริมาณเฟอร์ริตินในเลือดก่อนและหลังทดลอง พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับปริมาณเฟอร์ริตินในเลือดต่ำกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)

References

จิตสุดา บัวขาว. (บรรณาธิการ). (2560). แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียในเวชปฏิบัติทั่วไป: Guidelines for the care of thalassemia patients in general practice. สำนักวิชาการแพทย์กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

วิปร วิประกษิต. (2556). บทความพิเศษ“ธาลัสซีเมีย”: การดูแลรักษาโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแบบบูรณาการ(Comprehensive Management for Thalassemia). วารสารโลหิตวิทยา และเวชศาสตร์บริการโลหิต. 23(4) : 303-320.

ชาคริต เชาวฤทธิ์, สุภาพร ช่างคำและนวินดา วณิชกุลธาดา. (2566). ความชุกและชนิดการกลายพันธุ์ของยีนเบตาธาลัสซีเมียในคู่สามี-ภรรยาที่เสี่ยงต่อโรคเบตาธาลัสซีเมีย: ข้อมูลเขตสุขภาพที่ 10 พ. ศ. 2557-2564: การกลายพันธุ์ของยีนเบตาธาลัสซีเมียในคู่สามี-ภรรยาที่เสี่ยง. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 65(3) : 224-236.

กนกวรรณ ช้างโรจน์, ละเอียด แจ่มจันทร์และจินตนา อาจสันเที๊ยะ. (2563). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย. 1(3) : 138-150.

เพ็ญลักษณ์ ธรรมแสง. (2566). ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก โรงพยาบาลน้ำพอง. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 8(2) : 160-168

ปริศนา แผ้วชนะและ วีณา จีระแพทย์ (2554) : ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อป้องกันอาการหืดกำเริบของเด็กวัยเรียนโรคหอบหืด. https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67631 สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2566

กัลยา ถาวงค์ และเมธินี ศรีสวัสดิ์. (2564). ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนายาง ตำบลนายาง อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ, 8(2), 103-119.

สำราญ กาศสุวรรณ, ทัศนีย์ บุญอริยเทพและรุ่งกิจ ปินใจ. (2565). ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้กระบวนการกลุ่มในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลร้องเข็ม อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่. (PMJCS) Phrae Medical Journal and Clinical Sciences. 30(2) : 27-42.

วารินทร์ วัฒนานนท์เสถียรและ มธุสร ปลาโพธิ์ (2561) ผลของการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย โดยใช้รูปแบบ D-M-E-T-H-O-D ต่อความรู้เรื่องโรคและความรู้ในการปฏิบัติตัว. วารสารเกื้อการุณย์. 25(2) : 78-92.

ธัญธนาภา สีสถาน1 สุวรา ทองเลิศ. (2567). ผลของการวางแผนจาหน่ายต่อความรู้และพฤติกรรมของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหืดในเด็ก โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 9 (2) : 69-78.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30