ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส.ในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงเบาหวานต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหน่วยบริการปฐมภูมิ ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองสุขเกษม โรงพยาบาลสกลนคร

ผู้แต่ง

  • จุฑาทิพย์ งอยจันทร์ศรี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ งานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนและศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมือง กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลสกลนคร

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ, พฤติกรรม 3อ. 2ส., ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน

บทคัดย่อ

     การวิจัยกึ่งทดลอง Quasi experimental research ใช้แบบแผนการวิจัยกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest-Posttest Design) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส.ในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงเบาหวานต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหน่วยบริการปฐมภูมิ ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองสุขเกษม โรงพยาบาลสกลนคร กลุ่มตัวอย่างได้มาจากผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567  จำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส.ในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน แบบเก็บข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลพฤติกรรมผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน และแบบประเมินพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3 อ.2 ส. โดยผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลก่อนและหลังการนำโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส.ฯ มาใช้กับกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยสถิติพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง paired t-test
     ผลการวิจัยพบว่า หลังการใช้โปรแกรมคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ (M=3.13, SD=0.10) สูงกว่าก่อนใช้โปรแกรม (M=2.14, SD=0.16) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 5.00, S.D. = 4.32)

References

สำรวย กลยณี และศศิวรรณ ทัศนเอี่ยม .(2562). ผลของการประยุกต์ใช้หลัก 3อ. 2ส. ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ยงรายใหม่. วารสารราชพฤกษ์ 17(2), 95-104.

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค สำนักระบาดวิทยา. (2557). สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2555. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน. รายงานผลการดำเนินงาน. (2564). หน่วยบริการปฐมภูมิ ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองสุขเกษม โรงพยาบาลสกลนคร.

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2558). โครงการส่งเสริมการรณรงค์และขยายผล ศูนย์เรียนรู้องค์กรต้นแบบไร้พุงต้นแบบสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). คู่มือลดพุงลดโรค.หน้า 1-10.

รุจิรางค์ วรรณ์ธนาทัศน์. (2560). ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ และการรับรู้ความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ. 2ส.ของผู้สูงอายุ จังหวัดนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 4-5, 36(1), 2-11.

นวลนิตย์ ไชยเพชร อุดมศิลป์ แก้วกล่า, สิทธิพงษ์ สอนรัตน์และยุวดี วิทยพันธ. (2560). ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อ พฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังชุมชนโพหวาย ตำบลบางกุ้ง อาเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30