ผลของการพัฒนารูปแบบการประเมินเพื่อป้องกันและเฝ้าระวังก่อนการเข้าสู่ภาวะวิกฤตของผู้ป่วยข้อเข่าอักเสบติดเชื้อ หอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์หญิง โรงพยาบาลอุดรธานี
คำสำคัญ:
การประเมินก่อนการเข้าสู่ภาวะวิกฤต, การเฝ้าระวังก่อนการเข้าสู่ภาวะวิกฤต, ผู้ป่วยข้อเข่าอักเสบติดเชื้อบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของรูปแบบการประเมินเพื่อป้องกันและเฝ้าระวังก่อนการเข้าสู่ภาวะวิกฤตของผู้ป่วยข้อเข่าอักเสบติดเชื้อในด้านอุบัติการณ์ของผู้ป่วยที่ทรุดลงจากการเฝ้าระวังไม่เหมาะสม อุบัติการณ์การช่วยฟื้นคืนชีพ และอุบัติการณ์การเสียชีวิตหลังการใช้รูปแบบ โดยใช้การพัฒนางานตามวงจรปรับปรุงคุณภาพของเดมมิ่ง (Deming Cycle) โดยมีขั้นตอน Plan-Do-Check Act ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567 – กรกฎาคม พ.ศ. 2567 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานที่หอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์หญิง โรงพยาบาลอุดธานี จำนวน 10 คน และเวชระเบียนรวมถึงผู้ป่วยที่มาใช้บริการที่หอผู้ป่วย ออร์โธปิดิกส์หญิง โรงพยาบาลอุดธานี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการคงที่ตลอดการเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย มีเพียงร้อยละ 6.67 ของกลุ่มตัวอย่างที่มีอาการทรุดลงระหว่างการเฝ้าระวัง แต่ไม่รุนแรงจนต้องได้รับการฟื้นคืนชีพ หรือเสียชีวิต ความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพผู้ปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีถึงดีมากต่อรูปแบบ ว่าสามารถช่วยในการตัดสินใจในการประเมินผู้ป่วยแต่ละรายว่าต้องการความช่วยเหลือระดับใด รวมถึงมีความพึงพอใจต่อแนวทางการพยาบาลและการเฝ้าระวังที่ได้รับการพัฒนาและนำมาใช้ในการศึกษานี้
References
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. (2561). เป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วยของประเทศไทย พ.ศ.2561. นนทบุรี: เฟมัส แอนด์ ซัคเซ็สฟูล.
Ahmed, W.A., Rouse, A., Griggs, K.E., Collett, J., Dawes, H. (2020). Poor specificity of National Early Warning Score (NEWS) in spinal cord injuries (SCI) population: aretrospective cohort study. Spinal cord, 58, 165-173. doi.10.1038/s41393-019-0330-0
Nishijima I, Oyadomari S, Maedomari S, Toma R, Igei C, Kobata S, et al. Use of a modified early warning score system to reduce the rate of in-hospital cardiac arrest. J Intensive Care. [Internet]. 2016[cited 2023 Jan 3]; 4:12. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/ articles/PMC4748572
กรรณิกา ศิริแสน.ประสิทธิผลของการใช้ระบบสัญญาณเตือน ในการพยาบาลผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤติ โรงพยาบาลเอกชน แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพคริสเตียน; 2558. 102 หน้า
นิตยาภรณ์ จันทร์นคร. ทัศนีย์ แดขุนทด. อุไรวรรณ ศรีดามา, ปิยนุช บุญกอง. การพัฒนารูปแบบการประเมินสัญญาณเตือนภาวะวิกฤตสำหรับผู้ป่วยหนักวัยผู้ใหญ่ โรงพยาบาลสกลนคร. วารสารกองการพยาบาล [อินเทอร์เนต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 2023 Jan 3];47:39-60. แหล่งข้อมูล: https:// he01.tci-thaijo.org/index.php/JND/article/ view/242610/164904
จิรากร ประเสริฐชีวะ. (2560). Interpretation & Guideline for application of ISO 9001:2015[Press release]. สืบค้น (18 มกราคม 2566), จาก https://www.ithesis-ir.su.ac.th/ dspace/bitstream/ 2864/1/ 61602319.pdf
สมชาติ โตรักษา. (2558). การประยุกต์หลักการบริหารเพื่อการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ทำนอง ภูเกิดพิมพ์. (2551). แนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของชุมชน. สืบค้น (6 มีนาคม 2566),จากhttps://www.gotoknow.org/posts/334443
นภาพร ทองเก่งกล้า. (2551). การศึกษาความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนในเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม. (สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.