ผลของรูปแบบการวางแผนจำหน่ายเบาหวานต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ตึกอายุรกรรมหญิง 2 โรงพยาบาลสกลนคร จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ภัคภิญญา ใจดี โรงพยาบาลสกลนคร จังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

โรคเบาหวาน, ความรู้ พฤติกรรม, การวางแผนจำหน่าย

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบและประเมินผลของการใช้รูปแบบการวางแผนจําหน่ายต่อความรู้ต่อโรคเบาหวาน ความรู้ในการดูแลเท้า และพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 50 คน ที่มารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง 2 โรงพยาบาลสกลนคร จังหวัดสกลนคร แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 25 คน และกลุ่มควบคุม 25 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับรูปแบบการวางแผนจำหน่ายสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการวางแผนจําหน่ายผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งประกอบด้วย คู่มือการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน คู่มือการดูแลเท้า และคู่มือการวางแผนจําหน่ายผู้ป่วยสำหรับพยาบาล ตามรูปแบบการวางแผนจําหน่าย D-M-E-T-H-O-D เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้ และพฤติกรรมการดูแลตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างก่อนและหลังทดลองด้วยสถิติ paired t test
     ผลการศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ความรู้การดูแลเท้า และพฤติกรรมการควบคุมน้ำตาล ภายหลังการทดลองของกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ p < .05, t=15.48, 6.21, 9.93 ตามลำดับ

References

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค สำนักระบาดวิทยา. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2555. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. 2557.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสาหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ:สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ;2560.

ชัชลิต รัตรสาร. สถานการณ์ปัจจุบันและความร่วมมือเพื่อปฏิรูปการดูแลรักษาโรคเบาหวานในประเทศไทย.โนโวนอร์ดิสค์. 2560.

โรงพยาบาลสกลนคร จังหวัดสกลนคร. กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคเบาหวานจากฐานข้อมูล HDC. 2566.

Orem DE. Nursing concept of practice. 6th ed. St.Louis; 2001

Mckeehan KM, Coulton CJ. A system approach to program development for continuity of care in hospital. Continuity: advance concept of discharge planning, St. Louis Mosby; 1985.

จิรพรรณ ผิวนวล. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางแก้วใน ตำบลบางแก้ว อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 2561;1(2): 46-61.

พรพจน์ สารทอง. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง เพื่อชะลอไตเสื่อม แบบบูรณาการ โรงพยาบาลเรณูนคร อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2561;15(3): 76-84.

อรทิพย์ เมืองเคน และคณะ. พฤติกรรมการดูแลตนเองด้านโภชนาการของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หมู่บ้านอุดมทรัพย์ อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2560;26(2): 227-236.

วนิดา ศรีริภาพ. พฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานในกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้และกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารสุขภาพและการศึกษา. 2564;1(2): 57-68.

ชนิษฐ์นาฏ จุรีมาศ. ผลของการวางแผนจำหน่ายต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลเสลภูมิ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2558;12(2): 17-23.

ปภาดา มหัทธนะประดิษฐ์. ความรู้ในการดูแลเท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวาน เขตพื้นที่อำเภอกู่แก้วจังหวัดอุดรธานี. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2561;33(6): 520-526.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30