ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลคำตากล้า จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • อรัญญา วงศ์สวัสดิ์ โรงพยาบาลคำตากล้า จังหวัดสกลนคร
  • วัลภา เฟือยงาราช โรงพยาบาลคำตากล้า จังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, โรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) แบบกลุ่มเดียวเปรียบเทียบก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลคำตากล้า จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างคือเป็นผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ อย่างน้อย 1 ปี โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ แบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานเปรียบเทียบก่อนและหลัง โดยใช้สถิติ Paired t-test
      ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง ค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนการทดลองอยู่ที่ 47.67 (S.D. = 10.57) และหลังการทดลองเพิ่มขึ้นเป็น 61.93 (S.D. = 4.79) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนการทดลองอยู่ที่ 41.07 (S.D. = 9.22) และหลังการทดลองเพิ่มขึ้นเป็น 57.87 (S.D. = 4.66) ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว (SBP) และขณะหัวใจคลายตัว (DBP) ของผู้ป่วยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยค่าเฉลี่ย SBP ก่อนการทดลองอยู่ที่ 149.37 มิลลิเมตรปรอท (S.D. = 8.16) และลดลงเป็น 123.87 มิลลิเมตรปรอท (S.D. = 13.99) หลังการทดลอง และค่าเฉลี่ย DBP ก่อนการทดลองอยู่ที่ 81.83 มิลลิเมตรปรอท (S.D. = 10.81) และลดลงเป็น 73.10 มิลลิเมตรปรอท (S.D. = 10.45) หลังการทดลอง

References

World Health Organization. Hypertension. Available from March 16, 2023 https://www.who.int/news-room/fa

กระทรวงสาธารณสุข. Health Data Center. สืบค้น ตุลาคม 30, 2566 จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php

วรดา ทองสุก. ผลของโปรแกรมการเสริมพลังอำนาจต่อพฤติกรรมสุขภาพ ดัชนีมวลกาย และระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2562.

Miller JF. Coping with Chronic illness: Overcoming Powerlessness. 2nd ed. Philadelphia: F.A. Davis; 1992.

Gibson CH. The process of empowerment in mothers of chronically ill children. J Adv Nurs. 1995;21(6):1201-10.

Pilot DF, Hungler BP. Nursing research: Principles and methods. 5th ed. Philadelphia: Lippincott; 1995.

กองสุขศึกษา. การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเด็กวัยเรียนและวัยทำงาน. สืบค้น พฤศจิกายน 17, 2566 จาก http://www.hed.go.th/linkHed/482

Bloom BS. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Study of Learning. New York: McGraw-Hill; 1971.

Okazaki K. ["Throw your hammer!" The essence of patient empowerment in diabetes]. Yakugaku zasshi. 2015;135(3):351-5. doi: 10.1248/yakushi.14-00207-1.10. Snoek F, Skinner T. Psychology in Diabetes Care. 2000. doi: 10.1002/0470846569.

Bosworth HB, Olsen MK, Grubber JM, Neary AM, Orr MM, Powers BJ, et al. Two self-management interventions to improve hypertension control: a randomized trial. Ann Intern Med. 2009;151(10):687-95. doi: 10.7326/0003-4819-151-10-200911170-00148.

จิรวรรณ ไชยรัตน์, และคนอื่นๆ. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในเขตรับผิดชอบของศูนย์แพทย์ชุมชนคูหาสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง. 2565;5(2):65-73.

เพ็ญศรี รอดพรม, และคนอื่นๆ. ผลของโปรแกรมการเสริมพลังอำนาจในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้. 2565;9(5):300-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30