การเปรียบเทียบกรณีศึกษาการพยาบาลผู้ติดเชื้อเอสไอวี/เอดส์ ร่วมโรควัณโรคเยื่อหุ้มปอด

ผู้แต่ง

  • กุลจิรา ยืนยงค์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มการพยาบาล สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยวัณโรคเยื่อหุ้มปอดในผู้ป่วยเอดส์

บทคัดย่อ

     การเปรียบเทียบกรณีศึกษาการพยาบาลผู้ติดเชื้อเอสไอวี/เอดส์ ร่วมโรควัณโรคเยื่อหุ้มปอด มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางการพยาบาลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ร่วมโรควัณโรคเยื่อหุ้มปอดโดยใช้ทฤษฎีทางการพยาบาลและการพยาบาลผู้ป่วยเอดส์ร่วมโรคผู้ป่วยเอดส์ร่วมโรควัณโรคเยื่อหุ้มปอด ศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย
     ผลการศึกษาพบว่า กรณีศึกษารายที่ 1 ผู้ป่วย(ประวัติติดเชื้อเอชไอวีมาและเคยรักษาวัณโรคปอดมาก่อนป่วยเป็นวัณโรคเยื่อหุ้มปอดรับการรักษา เริ่มยาต้านไวรัสตั้งแต่รักษาวัณโรคปอดปี พ.ศ 2560 แต่ผู้ป่วยมารับการรักษาไม่ต่อเนื่องขาดยาต้านไวรัส 2 ปี) มาโรงพยาบาลด้วยอาการ หายใจเหนื่อย มีไข้ อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอกขวาเวลาหายใจเข้าแพทย์ทาการตรวจรักษาและวินิจฉัยโรคให้ยารักษาและนัดติดตามอาการจนอาการคงที่ จึงขอไปรับการรักษาตามสิทธิประกันสุขภาพ ได้การประสานงานกับโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยมีสิทธิประกันสุขภาพ และส่งตัวไปเพื่อรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง กรณีศึกษาที่ 2 ผู้ป่วยมาด้วยอาการ ง่าย มีไข้ อ่อนเพลียหายใจเหนื่อย เวลาหายใจเข้าเจ็บหน้าอกและชายโครง ผู้ป่วยทราบผลเลือดเอชไอวี Positive หลังจากตรวจพบว่าเป็นวัณโรคเยื่อหุ้มปอด แพทย์ทาการตรวจรักษาและวินิจฉัยโรคให้ยารักษาและนัดติดตามอาการ ต่อมาผู้ป่วยพบว่าเป็น Ovarian tumor ทาการส่งต่อรักษาสถาบันมะเร็งต่อไป

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.(2561). แนวทางการวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคในประเทศไทย Clinical practice guideline (CPG) of tuberculosis treatment in Thailand. นนทบุรี.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2548). แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. (ฉบับปรับปรุง) กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ.

กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). ผลการดำเนินงานการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อ. [ออนไลน์] 2564 [อ้างเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564]. จาก https://hivhub.ddc.moph.go.th/index.php

คณิสร แก้วแดง, สุมาลี ราชนิยม.(2558). พยาบาลกับการดูแลผู้ป่วยเอดส์แบบองค์รวม. วารสารวิทยาลัยพยาบาล พระปกเกล้าจันทบุรี 2558; 26(ฉบับเพิ่มเติม): 128-135.

มัตติกา ใจจันทร์, วันทนา มณีศรีวงศ์กูล, พูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์.(2558). ความสัมพันธ์ของลักษณะส่วนบุคคล อุปสรรคในการเข้าถึงบริการและการรับรู้ตราบาป กับความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสของผู้ติดเชื้อเอชไอวี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 26(2): 78-92.

ยุทธชัย ไชยสิทธิ์, รัตติยา ทองอ่อน, เพ็ญศิริ ดำรงภคภากร, บุญรอด ดอนประเพ็ง, ดวงใจ บุญคง, พัชนี สมกำลัง, และคณะ.(2556). กลยุทธ์ในการส่งเสริมความสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสเอช ไอวี :การทบทวนวรรณกรรม. วารสาร มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 5(3): 13-24

ลัดดา พลพุทธา.(2558). การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 21(1): 136-150.

สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกัน การติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย พ.ศ.2560. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2560. 24

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2561). แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561(National Tuberculosis control programme Guidelines), Thailand, 2018. กรุงเทพฯ.

สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560). ชุดความรู้การดูแลรักษาสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้โดยตรง.นนทบุรี : บริษัทบียอน พับลิชชิ่ง จำกัด.

สุพัตรา คงปลอด, พูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์, อรสา พันธ์ภักดี, และคณะ.(2558). การรับรู้ความต้องการการดูแลตนเองและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเอดส์ที่ติดเชื้อฉวยโอกาส. วารสารรามาธิบดีพยาบาลสาร. 21(1): 38-51.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30