ประสิทธิภาพของการส่งเสริมความรู้ผู้ป่วยเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ จากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย ในห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ลัดดาวัลย์ นรสาร โรงพยาบาลสกลนคร จังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

ภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ, การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi– experimental research) แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง (The one group pre–test post–test design) เพื่อเปรียบเทียบระดับความรู้ของผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลายระหว่างและหลังการส่งเสริมความรู้เพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย และเพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ ในผู้ป่วยที่ได้รับการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย ที่มารับบริการที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยที่เข้ารับบริการที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลสกลนคร โดยได้รับการคัดกรองให้นอนสังเกตอาการที่ห้องสังเกตอาการ จำนวน 39 คน และได้รับการรับไว้รักษาเป็นผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสกลนคร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและประวัติการเจ็บป่วยแบบสอบถามความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย และแบบบันทึกอุบัติการณ์การเกิดการอักเสบของหลอดเลือดดำส่วนปลาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
     ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลายประเภทน้ำเกลือ ร้อยละ 71.8 และได้รับการแทงเข็มคาไว้ที่หลอดลือดดำส่วนปลาย ร้อยละ 23.1 จากนั้นกลุ่มตัวอย่างได้รับการส่งต่อไปยังหอผู้ป่วยโดยส่วนใหญ่ถูกส่งไปยังหอผู้ป่วยอายุรกรรม ร้อยละ 82.06 และได้รับแทงเข็มเพื่อให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลายจำนวน 1 ครั้งเป็นส่วนใหญ่ โดยแทงบริเวณแขนซ้าย แขนขวา ข้อพับแขนซ้ายและข้อพับแขนขวา ร้อยละ 84.6 เมื่อติดตามการเกิด Phlebitis หลังกลุ่มตัวอย่างแอทมิทในหอผู้ป่วยไปแล้ว 72 ชั่วโมง พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่เกิด Phlebitis  แต่มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 6 รายที่เกิด Phlebitis คิดเป็นร้อยยละ 15.4 โดยเกิดในระดับที่ 1

References

กันยา นภาพงษ์. การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ. วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ . กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2560.

มนรดา แข็งแรง และ อัจฉราภรณ พันธุเวียง. การเกิดภาวะหลอดเลือดดําสวนปลายอักเสบจากการใหสารละลายทางหลอดเลือดดําในผูปวยวิกฤต. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางวิทยาศาสตรสุขภาพ 2564; 2(1) :22-36.

นิภาพร พรมดวงดี และ อรัญญา เนียมปาน. คู่มือการพยาบาล การดูแลผู้ป่วยที่แทงและคาเข็มทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย. งานการพยาบาลผู้ป่วยพิเศษ ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2559.

Herzberg, F., Mananer, B. and Synyderman, B, The Motivation to Work (New York : John Wiley, 1959)

กิตติรัตน์ สวัสดิ์รักษ์. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย. ชัยภูมิเวชสาร 2561; 38(3) :50-60.

วิรัช กลิ่นบัวแย้ม. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินทีห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลสันป่าตอง. โครงการการพัฒนาระบบบริการเพื่อการดูแลภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขอย่างครบวงจร (พบฉ.) . กรุงเทพมหานคร: สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.); 2564.

งานผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. สถิติผู้รับบริการปีงบประมาณ 2564-2566. งานผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน. สกลนคร: โรงพยาบาลสกลนคร; 2567.

คณะกรรมการเภสัชและการบำบัด. แนวทางการดูแล Phlebitis และ Extravasation. นครพนม: โรงพยาบาลนครพนม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม; 2564.

กาญจนา อุดมอัษฎาพร และมยุรี พรมรินทร์. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการป้องกันการอักเสบของหลอดเลือดดำและการรั่วซึมออกนอกหลอดเลือดดำจากการใช้ยากระตุ้นการหดตัวของหลอดเลือด หอผู้ป่วยหนักหัวใจ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2561; 14(1), 35-45.

สุดารัตน์ ทัดมาลา. การพยาบาลผู้ป่วยภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบน. ฝ่ายการพยาบาลกลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล. ขอนแก่น: โรงพยาบาลสิรินธร สำนักการแพทย์; 2562.

รุ้งลาวัลย์ พันธวงศ์. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการรั่วซึมของยาในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยา Norepinephrine ในหอผู้ป่วยเพชรรัตน์ 15B. ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลวชิรพยาบาล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช; 2564.

จรีณา คงพันธ์ และผกากรอง พันธ์ไพโรจน์. ผลของการใช้แนวปฏิบัติการให้ยาที่มีความเสี่ยงสูง ต่อการปฏิบัติการพยาบาลและอุบัติการณ์การเกิดภาวะหลอดเลือดดําส่วนปลายอักเสบ ในหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตอายุรกรรม โรงพยาบาลสงขลา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2564; 4 (1): 156-169.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

How to Cite

นรสาร ล. (2024). ประสิทธิภาพของการส่งเสริมความรู้ผู้ป่วยเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ จากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย ในห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลสกลนคร: . วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(3), 410–419. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2760