ผลของการให้คำปรึกษารายกรณีต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดไม่พึ่งอินซูลินรายใหม่

ผู้แต่ง

  • วาสนา แสนมหาชัย โรงพยาบาลสกลนคร จังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่, การให้คำปรึกษารายกรณี

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental  research  design)  ชนิดกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (The one group pretest-posttest only design) เพื่อเปรียบเทียบผลของพฤติกรรมการดูแลตนเอง และเปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ก่อนและหลังได้รับการให้คำปรึกษารายกรณี ประชากรที่ศึกษาคือผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ที่ได้รับการรักษาด้วยยาชนิดรับประทานยา ที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสกลนคร โดยกลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังการใช้การจัดการรายกรณี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มประชากร แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ด้านการรับประทานอาหาร ด้านการรับประทานยา ด้านการออกกําลังกาย และด้านสุขวิทยาส่วนบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
     ผลการศึกษา พบว่า หลังได้รับคำปรึกษารายกรณีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่มีคะแนนเฉลี่ยระดับความรู้โดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่หลังได้รับการให้คำปรึกษารายกรณี พบว่า หลังได้รับการให้คำปรึกษารายกรณีพบว่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับดีมาก ภาวะสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ พบว่า หลังได้รับการให้คำปรึกษารายกรณีค่าเฉลี่ยภาวะสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ดีขึ้น ทั้งน้ำหนัก รอบเอว ดัชนีมวลกาย ระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05)

References

World Economic Forum. สถานการณ์เบาหวาน [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงวันที่ 21 ธันวาคม 2565]; จาก https://www.weforum.org/agenda/2021/11/diabetes-burdens-rising-health-global/

กรมควบคุมโรค. สถานการณ์เบาหวาน. [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงวันที่ 22 ตุลาคม 2565]; จาก https://ddc.moph.go.th/brc/index.php.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. อุบัติการณ์โรคเบาหวานในประเทศไทย. [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงวันที่ 17 ธันวาคม 2564]; จาก https://ddc.moph.go.th/brc/index.php.

กลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร. (2564). รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2564. กลุ่มเทคโนโลยีระบาดวิทยา และมาตรการชุมชน กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

อักษรตรี พงศ์นุรักษ์. (2561). การจัดการรายกรณีในผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ที่มารับบริการในคลินิคเรื้อรัง ของศูนย์แพทย์ชุมชน โรงพยาบาลควนขนุน. ศูนย์แพทย์ชุมชนโรงพยาบาลควนขนุน อ.ควนขนุน จ.พัทลุง หน้า 1-9.

ราตรี โกศลจิต และ เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย. ประสิทธิผลของการจัดการรายกรณีในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลปากพลี จังหวัดนครนายก. พยาบาลสาร 2560; 44 (1): 26-38.

Powell, S.K & Tahan,H.A. (2010). Case management : A practical guide for education and practice. 3nd edition. Philadelphia : F.A Davis company.

นิรนาม. (2560). รายงานการวิจัย เรื่อง พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. รพ.สต.บ้านท่าข้าม ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่.

ดวงดาว ปิงสุแสน. (2555). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วโรคเบาหวานในตำบลทุ่งกล้วย อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพะเยาจังหวัดพะเยา.

อุบลรัตน์ รัตนอุไร และ ประภาส สงบุตร. ผลของโปรแกรมจัดการผู้ป่วยรายกรณีในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562; 28 (พิเศษ): 146-157.

นาเดีย รอนิง, ขนิษฐา นาคะ และ ทิพมาส ชิณวงศ์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลเท้า สุขภาพเท้า และระดับน้ำตาลในเลือดในผู้สูงอายุมุสลิมโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2564; 41 (1): 74-87.

อรุณี ไชยฤทธิ์. โปรแกรมการจัดการรายกรณีต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานประเภท 2. วารสารพยาบาลทหารบก 2563; 21 (2): 213-221.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

How to Cite

แสนมหาชัย ว. (2024). ผลของการให้คำปรึกษารายกรณีต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดไม่พึ่งอินซูลินรายใหม่. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(3), 420–428. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2761