ประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการประคบเย็นต่ออาการปวดและบวมของผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักที่ได้รับการผ่าตัดดามเหล็ก กลุ่มงานศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอุดรธานี
คำสำคัญ:
การประคบเย็น, อาการปวด, บวม, ผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักที่ได้รับการผ่าตัดดามเหล็กบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมการจัดการอาการร่วมกับการประคบเย็นต่ออาการปวดและบวมของผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักที่ได้รับการผ่าตัดดามเหล็ก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักที่ได้รับการผ่าตัดดามเหล็กในหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์โรงพยาบาลอุดรธานี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 15 คน รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคม2567-กรกฎาคม พ.ศ. 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความปวด และแบบวัดอาการบวมของขา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. หลังผ่าตัดชั่วโมงที่ 8, 16, 24, 32, 40 และ 48 กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดหลังผ่าตัดชั่วโมงที่ 4 ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. หลังผ่าตัดชั่วโมงที่ 24, 48 และ 72 ค่าเฉลี่ยเส้นรอบวงของขากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
มณฑา ลิ้มทองกุล. (2556). การเปลี่ยนแปลงการทำหน้าที่ของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ: พยาธิ-สรีรวิทยาทางการพยาบาล เล่ม 2. กรุงเทพฯ: บริษัทสยามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพ) จำกัด.
สมาคมศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย. (2552) แนวทางการพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน.พิมพ์ครั้งที่ 1.
Breslin, M., Lam, P., & Murrell, G. A. C. (2015). Acute effects of cold therapy on knee skin surface temperature: gel pack versus ice bag. BMJ Open Sport & Exercise Medicine, 1(1). doi: 10.1136/bmjsem-2015-000037
Bleakley, C., McDonough, S., & MacAuley, D. (2004). The use of ice in the treatment of acute soft-tissue injury: a systematic review of randomized controlled trials. Am J Sports Med, 32(1), 251-261.
Dodd, M., Janson, S., Facione, N., Faucett, J., Froelicher, E. S., Humphreys, J., . . . Taylor, D. (2001). Advancing the science of symptom management. J Adv Nurs, 33(5), 95668-676.
Ernst, E., and Fialka, V. (1994). Ice freezes pain? A review of the clinical effectiveness of analgesic cold therapy. Journal of Pain and Symptom Management 9(1): 56-59.
จวง เผือกคง. (2550). ผลของการใช้โปรแกรมการจัดการกับอาการปวดร่วมกับการใช้สุวคนธบำบัดต่อความปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กนกวรรณ ใจภักดี. (2558). ผลของโปรแกรมการจัดการอาการปวดโดยใช้สุวคนธบำบัดร่วมกับดนตรีบำบัดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดใส่เหล็กยึดตรึงกระดูกขา. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต(การพยาบาลผู้ใหญ่). มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
ศิริวรรณ บุญฐิติกุล และยุพาวรรณ จิตตาภิวัฒน์. (2545). การประคบด้วยถุงเจลลี่เย็นเพื่อลดความปวดของผู้ป่วยในระยะฟื้นฟูสภาพขาภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนขาเทียม. วารสารชมรมพยาบาลออร์โธปิดิคส์7(2): 47-52.
Hecht, P. J., Bachmann, S., Booth, R. S. and Rothman, R. H. (1983). Effect of thermal therapy on rehabilitation after total knee arthroplasty. Clinical Orthopaedic and Related Research 178: 198-201.