การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลการวางแผนการดูแลล่วงหน้าสำหรับผู้ป่วยระยะท้ายที่ได้รับการดูแลแบบ ประคับประคอง โรงพยาบาลบางปลาม้า

ผู้แต่ง

  • พัชรมนต์ ไกรสร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ (ด้านการพยาบาล) กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลบางปลาม้า

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาล, การวางแผนการดูแลล่วงหน้า, ผู้ป่วยระยะท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action  Research) เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลการวางแผนการดูแลล่วงหน้าสำหรับผู้ป่วยระยะท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองโรงพยาบาลบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี การรับรู้ถึงคุณภาพชีวิต ผลลัพธ์ด้านการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง (POS) และความพึงพอใจของผู้ป่วยระยะท้ายต่อการดูแลที่ได้รับตามแนวปฏิบัติ ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 – มกราคม พ.ศ. 2567 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยระยะท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองก่อนใช้แนวปฏิบัติฯ 40 คน และหลังให้แนวปฏิบัติ 40 คน เครื่องมือที่ใช้ แนวปฏิบัติการพยาบาลการวางแผนการดูแลล่วงหน้าสำหรับผู้ป่วยระยะท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง แบบวัดคุณภาพชีวิตทางสุขภาพแบบทั่วไป short form : SF-36 แบบประเมินผลลัพธ์ด้านการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (POS) และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
     ผลการวิจัย พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตก่อนและหลังใช้แนวปฏิบัติฯ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < .05) หลังการใช้แนวปฏิบัติค่าคะแนนเฉลี่ยผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative care Outcome :POS) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p< .05) ความพึงพอใจของผู้ดูแลต่อแนวปฏิบัติการพยาบาลการวางแผนการดูแลล่วงหน้าสำหรับผู้ป่วยระยะท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองภาพรวมระดับมาก (gif.latex?\bar{x} =4.27,SD=0.61)

References

Office of the National Health Commission. (2019). A handbook of health service providers: laws and practices related to the care of the palliative care. 5th printing TQP.

U.S. Department of Health and Human Service. (2019). Advance care planning: Health care Directives. Retrieved October 10, 2021from https://www.nia.nih.gov/health/advance-careplanning-healthcare-directives#decisions Accessed on February 25, 2020.

Tipkanjanaraykha, K., Saleekul, S., Apisitwasana, N., & Thiammok, M. (2017). Advance Care Planning for Peaceful Death. Journal of Boromarajonani College of Nursing,33(3). (in Thai).

Fan, S. Y., Sung, H. C., & Wang, S. C. (2019). The experience of advance care planning discussion among older residents in a long-term care institution: A qualitative study. Journal of Clinical Nursing, 3-7. https://doi:10.1111/jocn.14936.

พรพิมล เลิศพานิช, อาภาพร นามวงศ์พรหม, และ น้ำอ้อย ภักดีวงศ์. (2560). ประสบการณ์อาการและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกล ลามที่ได้เคมีบำบัด. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุคมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย วิทยาศาสตร์และเทค โนโลยี), 6(I), 45-55.

Thapanakulsuk, P. (2020). Advance care planning: important issue of geriatric palliative care. Journal of Nursing Science & Health, 43(3), 12-23.

Siriloadjanamanee,K.,Soivong, P.,& Phornphibul, P. (2019). Breaking Bad News in Palliative Care: Integrative Review. Nursing Journal, 46(3), 71-85. (in Thai).

Akkadechanunt, T., & Phornphibul, P. (2018). Effectiveness of Implementing Clinical Practice Guideline for Palliative Care in Cancer Patients. Nursing Journal, 45(3), July-September: 68-82. (inThai).

National Statistical Office Thailand. (2020). Report of the elderly population in Thailand 2019. Bangkok. (in Thai)

Junchom,K., Sangsai,Y., &Polsavat,B. (2021).Empowering family and community in end–of-lifecare: important role of nurses.Journal of Health Science Boromarajonani College ofNursing Sunpasitthiprasong, 5(2), 12-24.

มารยาท สุจริตวรกุล. (2562). ผลของการใช้แนวทางการดูแลแบบประคับประคองต่อคุณภาพชีวิตและผลลัพธ์ของการดูแลของผู้ป่วยแบบประคับประคองโรงพยาบาลชลบุรี. วารสารโรงพยาบาล

พรเลิศ ฉัตรแก้ว.(2556). การวางแผนล่วงหน้าเพื่อแสดงความปรารถนาในวาระสุดท้ายของชีวิต. ลักษมีชาญเวชช์ดุสิตสถาวร (บรรณาธิการ). The DAWN of PALLIATIVE CAER in THAILAND. (189-198). กรุงเทพฯ: บริษัทบียอนด์เอ็นเทอร์ไพรช์จ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30