การประยุกต์ใช้แนวคิดการสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอภาวะไตเสื่อม ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

ผู้แต่ง

  • บุญญพร เหล่าสุวรรณ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลนาทม จังหวัดนครพนม

คำสำคัญ:

การสนับสนุนการจัดการตนเอง, ภาวะไตเสื่อม, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและผลการประยุกต์ใช้แนวคิดการสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลนาทม จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้การคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 40 คน และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ ได้ค่าความเที่ยงสัมประสิทธ์อัลฟาของครอนบราค เท่ากับ 0.79 การวิเคราะห์ข้อมูล: ข้อมูลทั่วไปใช้ค่าจำนวน ร้อยละ พฤติกรรมสุขภาพและผลลัพธ์ทางคลินิกโดยใช้ค่าจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบก่อน-หลัง ร่วมกิจกรรมโดยใช้สถิติ paired t-test
     ผลการศึกษา ก่อน-หลังเข้าร่วมกิจกรรมระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (A1C) มีค่าเฉลี่ยลดลงจาก 7.7% เป็น 7.2%, อัตราการกรองไตมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 87.9 เป็น 96.2 ml/min/1.73m2/yr, ระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ ค่าเฉลี่ยลดลงจาก 177 mg/dl เป็น 152 mg/dl, ระดับไขมันเลว มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 97 mg/dl เป็น 102 mg/dl, เปรียบเทียบระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (A1C), อัตราการกรองไต (eGFR) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์และไขมันเลวไม่แตกต่างกันทางสถิติ ด้านพฤติกรรมสุขภาพก่อน-หลังเข้าร่วมกิจกรรม พบว่าการบริโภคอาหารมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=37.93, SD=4.554) เป็นระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=43.10, SD=3.128), การออกกำลังกายมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย (gif.latex?\bar{x}=12.70, SD=2.544) เพิ่มขึ้นเป็นระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x}=16.88, SD=3.368) การใช้ยามีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=18.72, SD=2.396) เป็นระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=24.05, SD=2.229) และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม. ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อ [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 8 สิงหาคม 2566] เข้าถึงได้จาก https://npm.moph.go.th/HDC.

ศิริลักษณ์ ถุงทอง (2560). การชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(ฉบับพิเศษ), 17-24.

กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อ [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 8 สิงหาคม 2566] เข้าถึงได้จากhttps://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php

กฤตกร หมั่นสระเกษ, ทัศนีย์ รวิวรกุล และสุนีย์ ละกำปั่น. (2562). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้อินซูลิน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 25(2), 87-103.

ศิรินทรา ด้วงใสและทิพมาส ชิณวงศ์. (2564). ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองตามแบบ 5 เอ ต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 41(4), 75-85.

ธัสมน นามวงษ์, รัชชนก กลิ่นชาติ, สุมาลี ราชนิยม, พนัชกร ค้าผล และนฤมล ทองภักดี. (2562). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการจัดการตนเอง ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 29(3), 179-193.

สุพัตรา พงษ์อิศรานุพร, ศศรส หลายพูนสวัสดิ์ และระทุม สุภชัยพานิชพงศ์. (2561). ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลดำเนินสะดวก. วารสารแพทย์เขต 4-5, 37(2), 148-159.

สาวิตรี นามพะธาย. (2561). ผลของโปรแกรมการจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30