การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลหนองคาย

ผู้แต่ง

  • วไลพร หงส์พันธ์ โรงพยาบาลหนองคาย

คำสำคัญ:

รูปแบบการดูแล, ผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ, ห้องฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลหนองคาย โดยดัดแปลงจากแนวคิดของแนวปฏิบัติในการช่วยชีวิตผู้ได้รับบาดเจ็บขั้นสูง (ATLS) กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ จำนวน 13 คนและผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ จำนวน 30 คน.เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบและพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ 2) แบบประเมินความยาก-ง่ายและความเป็นไปได้ของกิจกรรม 3) แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้น 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ 5) แบบบันทึกผลลัพธ์ของผู้ป่วยจากการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
     ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบเป็นลักษณะแบบบันทึกเพื่อใช้ในการประเมินเบื้องต้นและการคัดกรอง ประเมินและการช่วยเหลือระยะแรก ประเมินและการช่วยเหลือระยะที่สอง และระยะเตรียมจำหน่าย/Admit ภายหลังนำรูปแบบไปใช้ พบว่า ส่วนใหญ่แนวปฏิบัติที่สร้างขึ้นมีระดับความยาก-ง่ายและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ในระดับง่ายที่สุด และพยาบาลสามารถทำตามแนวปฏิบัตินี้ได้ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 88.90 เจ้าหน้าที่มีความพึงพอใจรูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบในระดับมาก ร้อยละ 84.6 และระดับปานกลาง ร้อยละ 15.4 การประเมินผลลัพธ์ทางคลินิกบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ทุกตัวชี้วัด

References

กาญจนา เซ็นนันท์, อรพรรณ โคสิงห์, และศิริอร สินธุ. ( 2551). การช่วยชีวิตของผู้บาคเจ็บในระยะเร่งด่วนฉุกเฉิน: การวิเคราะห์วรรณกรรม. วารสารสภาการพยาบาล.

กรองได อุณหสูต และเครือข่ายการพยาบาลอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย. (2559). การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วย Multiple Injury ตามแนวทางการจัดการผู้ป่วย Multiple ตามหลักฐานเชิงประจักษ์. การประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่2/2559. กรุงเทพมหานคร.

กันยารัตน์ เกิดแก้ว, นิตยา สินเธาว์. (2563). ศึกษา (Case study) แนวทางการพัฒนาคุณภาพการ ให้บริการงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี.

Tachino J, Katayama Y, Kitamura T, et al. (2021). Assessment of the interaction effect between injury regions in multiple injuries in Japan. J Trauma Acute Care Surg.

มะลิสา โรจนหิรัณย์. (2563). ประสิทธิผลการใช้แนวทางปฏิบัติในการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี.

จารุพักตร์ กัญจนิตานนท์, สุชาตา วิภวกานต์, รัตนา พรหมบุตร. (2562). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้บาดเจ็บรุนแรงหลายระบบ โรงพยาบาลกระบี่. Journal of The Royal Thai Army Nurses.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

How to Cite

หงส์พันธ์ ว. (2024). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลหนองคาย. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(3), 462–470. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2789