การสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยไตเรื้อรัง ระยะ 3 คลินิกอายุรกรรม งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • ศิริวรรณ สิงหศิริ โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
  • เพ็ญจันทร์ โฮมหงษ์ โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
  • นงค์นุช โฮมหงษ์ โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

คำสำคัญ:

โรคไตเรื้อรัง ระยะที่ 3, ความรอบรู้ทางสุขภาพ, การชะลอไตเสื่อม

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบและประเมินผลของการสร้างเสริม ความรอบรู้ทางสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยไตเรื้อรัง ระยะ 3 คลินิกอายุรกรรม งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ทำการศึกษาในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน ปี 2566 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 3 จำนวน 127 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดความรอบรู้ทางสุขภาพ 7 ด้าน และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างก่อนและหลังทดลองด้วยสถิติ paired t test
     ผลการศึกษา พบว่า หลังการสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพ ความรอบรู้ทางสุขภาพในภาพรวม ทั้ง 7 ด้าน เพิ่มขึ้นเป็น 31.95 คะแนน อยู่ในระดับมาก และมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ p < .05, t=11.05 ความพึงพอใจเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 4.67 คะแนน อยู่ในระดับ ระดับความพึงพอใจเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ p < .05, t=6.01

References

Csaba P Kovesdy. Epidimeology of chronic kidney disease: an update 2022 Kidney Int Suppl. 2022.

Centers for Disease Control and Prevention. United States; C2021. Chronic Kidney Disease in the United States; 2021.

Thai-SEEK Group. Prevalence and risk factors of chronic kidney disease in the Thai adult population: Thai SEEK study. Nephrol Dial Transplant. 2010.

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. ข้อมูลการบำบัดทดแทนไตในประเทศไทย พ.ศ. 2566. กรุงเทพฯ: สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย; 2566.

Hamler, T. C., Miler, V. J., & Petrakovitz, S. Chronic Kidney Disease and Older African American Adults: How Embodiment Influences Self-Management. Geriatrics. 2018

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ.2558; 2558.

เกียรติภูมิ วงศ์รจิต. สธ. ร่วมกับภาคีเครือข่าย รณรงค์วันไตโลก ปี 2565 “เสริมสร้างภูมิความรู้ ควบคู่การดูแลไต. 2565.

โรงพยาบาลโพนพิสัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย. ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC). 2566.

Bloom, B.S. Hand book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: Mc Graw-Hill Book Company; 1971.

ปวาสินี สุขเจริญ. ผลของการให้ความรู้เพื่อชะลอการเสื่อมของไต ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ระยะที่ 3 โรงพยาบาลเกาะสมุย. วารสารโรงพยาบาลเกาะสมุย. 2566;1(1): 1-18.

อนุชา ไทยวงษ์ และคณะ. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรอบรู้ทางสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนการบำบัดทดแทนไต. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2565;40(3): 44-53.

สุวรรณา สุรวาทกุล และคณะ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4 อำเภอนาดูน. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2563;40(7): 129-143.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30