ผลของโปรแกรมวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ โรงพยาบาลคำตากล้า อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • เกษร บัวขันธ์ โรงพยาบาลคำตากล้า อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

โรคเบาหวานชนิดที่ 2, การวางแผนจำหน่าย, การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) แบบกลุ่มเดียวเปรียบเทียบก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้  โรงพยาบาลคำตากล้า อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้และนอนรักษาที่แผนกผู้ป่วยใน ระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2567 โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือโปรแกรมวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตามกระบวนการ D-METHOD การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานเปรียบเทียบก่อนและหลัง โดยใช้สถิติ Wilcoxon signed rank test สำหรับความรู้ และ Paired t-test สำหรับพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลในเลือด
     ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 54.50 อายุเฉลี่ย 60.58 ปี ระดับการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 75.76 อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 57.57 มีโรคร่วมคือโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 54.55 และไม่มีกลุ่มตัวอย่างกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน หลังการทดลอง ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดหลังการทดลองต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

World Health Organization. Global report on diabetes [อินเทอร์เน็ต]. 2023 [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.who.int/diabetes/global-report/en/

Health Data Center. รายงานสถานการณ์โรคเบาหวานในประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2023 [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hdc.moph.go.th/

โรงพยาบาลคำตากล้า. 3.ฐานข้อมูล HosXp. [อินเทอร์เน็ต]. ตุลาคม 2566 [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2566].

ปิยะนันท์ ศรีทิน. ผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ โรงพยาบาลเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน. 2566;8(2):240-9.

รัตนา นิลเลื่อม, ดวงกมล วัตราดุล, พรทิพย์ สินประเสริฐ, กรองแก้ว ทรัพย์ประเสริฐ, ธิดารัตน์ ขาวเงินยวง และอรทัย บุญชูวงศ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลราชบุรี จังหวัดราชบุรี. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2564, 32(2), 202-215.

กนกวรรณ ด้วงกลัด, ปัญญารัตน์ ลาภวงศ์วัฒนา, และณัฐกมล ชาญสาธิตพร. โปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2563, 36(1), 66-82.

ธีรภาพ เสาทอง, ปาหนัน พิชยภิญโญ และสุนีย์ ละกำปั่น. ผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้. วารสารวิจัยและการพยาบาล 2563, 36(3), 19-32.

ศิริมา มณีโรจน์. ผลของโปรแกรมการดูแลและวางแผนจำหน่ายโดยใช้ IDEAL Model ต่อความรู้ ระดับน้ำตาลสะสม ความพร้อมในการจำหน่ายและอัตราการกลับมารักษาซ้ำในผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาซับซ้อน. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร 2565, 6(1), 78-91.

Cohen J. Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. New York: Routledge; 1988.

Bloom BS. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Study of Learning. New York: McGraw-Hill; 1971.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

How to Cite

บัวขันธ์ เ. (2024). ผลของโปรแกรมวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ โรงพยาบาลคำตากล้า อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(3), 402–409. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2794