ผลของการสร้างการมีส่วนร่วมและแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานของประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพียเภ้า ตำบลคำน้ำแซบ อำเภอวารินชำราบจังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • เกียรติศักดิ์ วิจักษณกุล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพียเภ้า ตำบลคำน้ำแซบ อำเภอวารินชำราบจังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การสร้างการมีส่วนร่วม, แรงสนับสนุนทางสังคม, โรคเบาหวาน, ประชาชนกลุ่มเสี่ยง

บทคัดย่อ

     การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการมีส่วนร่วมและแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพียเภ้า ตำบลคำน้ำแซบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการมีส่วนร่วมและแรงสนับสนุนทางสังคมจำนวน 36 คน และกลุ่มเปรียบเทียบที่ได้รับโปรแกรมปกติจำนวน 36 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากทั้งสองกลุ่มก่อนและหลังการทดลองในช่วงเวลาเดียวกันระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 มีนาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Independent t-test เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม และ Paired t-test เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยภายในกลุ่ม กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05
     ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การมีส่วนร่วม และแรงสนับสนุนทางสังคม รวมถึงพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานในกลุ่มทดลองสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลองและกับกลุ่มเปรียบเทียบ

References

โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์. (2566). เบาหวานรู้เท่าทันป้องกันได้. เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2566: https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/diabetes-2

รวีวรรณ ยิ้มเนียม, วสุธร ตันวัฒนกุล และบุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2561). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่มีต่อแรงจูงใจในการป้องกันโรคและการควบคุมน้ำตาลในเลือดของประชาชนกลุ่มเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารกรมการแพทย์ ปีที่ 43 ฉบับที่ 2 มีนาคม - เมษายน 2561.

วิไล แสนยาเจริญกุล. (2561). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหารต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

เกสราวรรณ ประดับพจน์. (2564) ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 self ต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และเส้นรอบเอวของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์.

วีรวัฒน์ ทางธรรม และคณะ. (2566). ผลของโปรแกรมเสริมสร้างการป้องกันโรคที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจการป้องกันโรคต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน : กรณีศึกษา. Journal of Roi Kaensarn Academi ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนกรกฎาคม 2566.

โสภณ จันทะโคตร. (2566). ผลของการมีส่วนร่วมและแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานของกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยแดง ตำบลดอนจิก อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี. วารสาสุยภพและสิ่งแวดล้อมศึกษา ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2566.

เยาวดี ศรีสถาน. (2565). ผลของพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการจัดการฝ้าระวังตนเองของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม -เมษายน 2565).

อรอนงค์ สุทโธ. (2565). การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานของประชาชนกลุ่มเสี่ยง ในเขตพื้นที่ของศูนย์สุขภาพชุมชนโพนงาม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2565.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

How to Cite

วิจักษณกุล เ. (2024). ผลของการสร้างการมีส่วนร่วมและแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานของประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพียเภ้า ตำบลคำน้ำแซบ อำเภอวารินชำราบจังหวัดอุบลราชธานี . วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(3), 518–527. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2809