การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • วัชราพร ดวงแก้ว โรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน
  • อรทัย ธรรมป๊อก โรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน
  • ธนิตา จิตนารินทร์ โรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน
  • อัญชลี ศรีสุตา โรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน
  • มาลีวรรณ เกษตรทัต โรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมอง, การดูแลผู้ป่วย, การพยาบาล

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและใช้รูปแบบพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลลำพูน ทำการศึกษาในช่วงเดือนพฤษภาคม 2566 -พฤษภาคม ปี 2567 รวมระยะเวลา 12 เดือน กลุ่มตัวอย่างเจ้าหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 19 คน และ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มารับบริการในโรงพยาบาลลำพูน จำนวน 223 คน รวม 2 กลุ่ม 242 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมินสมรรถนะของพยาบาล แบบสัมภาษณ์เชิงคุณภาพเจ้าหน้าที่ ผู้ป่วย ในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ร้อยละ มัธยฐาน และเชิงคุณภาพในการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
     ผลการศึกษา พบว่า 1. การพัฒนา ประกอบด้วย 11 มาตรการสำคัญ ดังนี้ 1) การลดอัตราตายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 2) การเพิ่มจำนวนเตียง ด้วยประชุมทีมผู้ดูแลผู้ป่วย Stroke นำข้อมูลผู้ป่วย มาคำนวณจำนวนเตียงเพื่อให้เพียงพอต่อการรองรับผู้ป่วยที่เข้ารักษาในโรงพยาบาล 3) การลดระยะเวลา Door to Operation time, Door to needle time 4) การพัฒนาสมรรถนะโรงพยาบาลอำเภอชุมชน 5) การพัฒนาระบบนิเทศทางคลินิก 6) การพัฒนาระบบการประเมินผู้ป่วยในโรงพยาบาล 7) การพัฒนาระบบแจ้งเหตุและดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน 8) การพัฒนาระบบส่งต่อในชุมชน 9) การให้ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน 10) กระบวนการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพ 11) พัฒนาระบบเซ็นยินยอมของญาติเพื่อการรักษา และทำหัตถการที่รวดเร็ว 2. คะแนนสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลังการพัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 12.06) 3. เวลาเฉลี่ย Door-to-needle พบว่าระยะก่อนพัฒนามีความสัมพันธ์กับ Door-to-needle ระยะหลังพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (x2=3.91)

References

World Health Organization. World stroke day. 2010.

Burden of Disease Research Program Thailand, International Health Policy Program, Ministry of Public Health. Disability Adjust Life Year: DALY. Nonthaburi province, Thailand; 2014.

Saver JL. Time is brain: Quantified. Stroke 2006; 37(2): 263-266.

Tiamkao S. Stroke fast track. North-Eastern Neuroscience Association. Khon Kaen: Klungnana¬tham; 2012; 50-55.

ไพรวัลย์ พรมที. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด (rt-PA) แผนกผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลขอนแก่น. Journal of Nursing and Health Care. หน้าปีที่ 39 ฉบับที่ 1 : มกราคม - มีนาคม 2564 หน้า 128-137.

Techaatik P, Wunsupon S, Sumritrin S. Effectiveness of implementing evidence-based practice for traumatic patients at out-patient of the accident and emergency unit. Journal of Nursing Science & Health 2011; 34(3): 65-74.

รายงานสถานการณ์โรคหลอดเลือดสมอง.กลุ่มการพยาบาล. โรงพยาบาลลำพูน. 2567.

อาคม รัฐวงษา และ อรสา กงตาล. การพัฒนาแนวทางการจัดบริการอย่างต่อเนื่องในชุมชนสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ของโรงพยาบาลโกสุมพิสัยและเครือข่าย. วารสารมหาวิทยาลัยขอนแก่น หน้า 670-680.

สุดศิริ หิรัญชุณหะ และ คณะ. การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมพลังอำนาจและการมีส่วนร่วม ของครอบครัวและชุมชนต่อการปรับพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคในกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง: กรณีศึกษา ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ ปีที่ 41 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2564 หน้า 115-127.

ณีรนุช วงค์เจริญ ทัศนมินทร์ รัชตาธนรัชต์ และ พิสิษฐ์ สมงาม. การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องที่บ้านของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน ปีที่ 6 ฉบับที่ 04 (2563): ตุลาคม – ธันวาคม. หน้า 61-71.

อภันตรี กองทอง. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย. วารสารศูนย์อนามัยที่ 2 พิษนุโลกปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (2566): ตุลาคม – ธันวาคม. หน้า 1-11.

ยุวดี ผงสา ผลการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น วารสาร สสจ. ขอนแก่น ปีที่ 2ฉบับที่ 2กรกฎาคม –ธันวาคม2563 หน้า 139-153.

ศีล เทพบุตร์ ได้ทำการศึกษาเรื่อง การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร ปีที่ 17 ฉบับที่ 3 ก.ย.-ธ.ค. 63 122-124.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

How to Cite

ดวงแก้ว ว., ธรรมป๊อก อ., จิตนารินทร์ ธ., ศรีสุตา อ., & เกษตรทัต ม. (2024). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลลำพูน. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(3), 450–461. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2817