ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการวางแผนการดูแลล่วงหน้าของผู้ป่วยระยะท้ายโรงพยาบาลเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • นิติรัฐ นาให้ผล นายแพทย์ชำนาญการ โรงพยาบาลเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การวางแผนการดูแลล่วงหน้า , ผู้ป่วยระยะท้าย

บทคัดย่อ

     การวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการวางแผนการดูแลล่วงหน้าในผู้ป่วยระยะท้ายโรงพยาบาลเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น ครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Survey Research by Cross-sectional study) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการวางแผนการดูแลล่วงหน้า ปัญหาและอุปสรรคในการวางแผนการดูแลล่วงหน้าในผู้ป่วยระยะท้าย โรงพยาบาลเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ในกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยระยะท้าย โรงพยาบาลเปือยน้อย จำนวน 77 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Multiple Logistic Regression Analysis
     ผลการศึกษาพบว่า จากผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 59.7  ส่วนใหญ่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 79.2  สถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 68.8 กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความรู้เรื่องการวางแผนการดูแลล่วงหน้าของผู้ป่วยระยะท้าย เท่ากับ 17.01 คะแนน (S.D.= 1.92 คะแนน) มีค่าเฉลี่ยทัศนคติต่อการวางแผนการดูแลล่วงหน้าของผู้ป่วยระยะท้ายเฉลี่ยเท่ากับ 3.37 คะแนน (S.D. = 1.01 คะแนน) เมื่อพิจารณาด้านปัจจัยเสริม พบว่า ด้านแรงสนับสนุนจากครอบครัว มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (equation= 3.56, S.D.= 0.99) ด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสารอยู่ในระดับมาก (equation= 4.09, S.D.= 0.43) ด้านการได้รับคำแนะนำจากแพทย์ พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอยู่ในระดับมาก (equation= 3.56, S.D.= 1.02)   และปัจจัยเอื้อด้านความสะดวกในการเข้าถึงบริการและสภาพแวดล้อมของสถานที่ให้บริการ (equation= 3.55, S.D.= 1.02)  และพบว่า ปัจจัยอิสระที่มีความสัมพันธ์กับการวางแผนการดูแลล่วงหน้าในผู้ป่วยระยะท้าย โรงพยาบาลเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่นอย่างมีนับสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ได้แก่  ทัศนคติ (OR =0.09, 95%CI; 0.012 - 0.657, p = 0.018) แรงสนับสนุนจากครอบครัว(OR= 0.04, 95%CI; 0.004 – 0.495, p = 0.011) และการรับคำแนะนำจากแพทย์ พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข(OR =0.05, 95%CI; 0.007 – 0.469, p = 0.007)

References

กรมการแพทย์. (2563). คู่มือการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและระยะท้าย (สำหรับบุคลากรทางการแพทย์). สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. (2566). รายงานตามตัวชี้วัดในระดับกระทรวง ปี 2566.

วงษ์เดือน ทองใบใหญ่. (2561). อาการทุกข์ทรมาน ความต้องการการดูแลและการพยาบาลที่ได้รับของผู้ป่วยระยะประคับประคองที่เข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยบูรพา].

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2565). มาตรฐานการวางแผนการดูแลล่วงหน้าสำ หรับประเทศไทย(Thai standards for advance care planning) พ.ศ. ๒๕๖๕. บริษัท พิมพ์สิริพัฒนา จำกัด

Tran M, Grant M, Clayton J, Rhee J. (2018). Advance care decision making and planning. Aust JGen Pract [Internet].

Thompson TDB, Barbour RS, Schwartz L. (2003). Health professionals’ views on advance directives: a qualitative interdisciplinary study. Palliat Med [Internet].

Van Wijmen MPS, Pasman HRW, Widdershoven GAM, Onwuteaka-Philipsen BD. (2015). Continuing or forgoing treatment at the end of life? Preferences of the general public and people with an advance directive. J Med Ethics [Internet].

Enguidanos S, Ailshire J, Davis L. (2017). Timing of Advance Directive Completion and Relationship to Care Preferences HHS Public Access. J Pain Symptom Manag;53(1), 49–56.

Mack JW, Weeks JC, Wright AA, Block SD, Prigerson HG. (2010). End-of-life discussions, goal attainment, and distress at the end of life: Predictors and outcomes of receipt of care consistent with preferences. J Clin Oncol [Internet].

Van Der Steen JT, Van Soest-Poortvliet MC, Onwuteaka-Philipsen BD, Deliens L, De Boer ME, Van Den Block L, et al. (2014). Factors associated with initiation of advance care planning in dementia: A systematic review. J Alzheimer’s Dis [Internet].

Cardona-Morrell M, Kim JCH, Turner RM, Anstey M, Mitchell IA, Hillman K. (2016). Nonbeneficial treatments in hospital at the end of life: A systematic review on extent of the problem. Int J Qual Heal Care [Internet].

ภมรรัตน์ ศรีธาราธิคุณ และศิริจิต เนติภูมิกุล. (2564). ผลของการวางแผนการดูแลล่วงหน้าต่อการดูแลในวาระสุดท้ายของชีวิตในคลินิกการดูแลประคับประคอง โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว, 4(1), 97-111.

วราภรณ์ อ่อนอนงค์. (2561). ผลของโปรแกรมการดูแลระยะท้ายของชีวิตที่สงบต่อการรับรู้การตายสงบในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายที่ได้รับยาเคมีบำบัด. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

Green, L. and Kreuter, M. (1991). Health promotion planning. Mayfield Publishing Co., University of Michigan.

เพ็ญศิริ ดวงผุนมาตย์, ประสิทธิ์ ลีระพันธ์, ธราดล เก่งการพานิช, และกีรติ เจริญชลวานิช. (2557).พฤติกรรมการดูแลตนเองที่บ้านของผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม.วารสารสุขศึกษา, 37(126), 49-65.

พงศธร ศิลาเงิน. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในจังหวัดพะเยา. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการการสร้างเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

ปิยะนันท์ เรือนคำ, สุคนธา คงศีล, สุขุม เจียมตน และยุวนุช สัตยสมบูรณ์. (2565). การรับรู้ข่าวสารและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 หลังการเปลี่ยนผ่านเป็นโรคประจำถิ่นของประชาชนในจังหวัดนครพนม. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสุขภาพ, 4(1). 127-138.

โรงพยาบาลเปือยน้อย (2566). รายงานผู้ป่วยระยะประคับประคอง ปี 2566.

Bloom, B.S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill.

Likert, R. (1967) New Patterns of Management. McGraw-Hill, New York.

สำเริง จันทรสุวรรณ, สุวรรณ บัวทวน. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2547.

สุนีย์ ณีศะนันท์. (2562). การรักษาทีไม่เกิดประโยชน์ในผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะลุกลามที่อยู่ในโรงพยาบาล. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร, 16(1), 1-10.

Chu D, Yen Y-F, Hu H-Y, Lai Y-J, Sun W-J, Ko M-C, et al. (2018). Factors associated with advance directives completion among patients with advance care planning communication in Taipei, Taiwan. PLoS ONE. 13(7): e0197552.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31