ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดและการจัดการความเครียดของพนักงาน 1330 Contact Center สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
คำสำคัญ:
ความเครียด, การจัดการความเครียด, Contact Center, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการความเครียด ระดับความเครียดจากการทำงาน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดและการจัดการความเครียดของพนักงาน 1330 Contact Center ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด19 ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 158 คน ระหว่างวันที่ 21 กันยายน – 13 ตุลาคม 2566 เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความเครียดสวนปรุง (SPST-20) แบบสอบถามปัจจัยด้านงานที่มีผลต่อความเครียดในงาน และแบบสอบถามการจัดการความเครียดในการทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Chi-square และ Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)
ผลการศึกษาพบว่า พนักงาน1330 Contact Center ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 87.3 อายุอยู่ในช่วงระหว่าง 22 – 29 ปี ร้อยละ 79.1 ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ทำงาน Contact Center 1 – 2 ปี ร้อยละ 76.6 ลักษณะงานที่ทำเป็นงานที่โอกาสก้าวหน้าหรือเลื่อนตำแหน่งเป็นพนักงานประจำมีน้อย สภาพแวดล้อมการทำงานมีความเหมาะสม พฤติกรรมการจัดการความเครียดแบบมุ่งลดอารมณ์ของพนักงานมักจะมีสติไม่ตื่นตระหนกพร้อมเผชิญปัญหา ในส่วนของพฤติกรรมการจัดการความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหาของพนักงานมักจะขอเปลี่ยนหน้าที่รับผิดชอบ พนักงานมีระดับความเครียดสูง ร้อยละ 58.9 เหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกเครียดมากที่สุดคือ กลัวทำงานผิดพลาด ในส่วนของความสัมพันธ์ พบว่า ผลกระทบจากสถานการณ์ การแพร่ระบาดโรคโควิด19 มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการความเครียดแบบมุ่งลดอารมณ์ ส่วนเพศ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหา และเพศ อายุ สถานภาพทางเศรษฐกิจ ปัญหาทางด้านสุขภาพ ลักษณะงาน และสภาพแวดล้อมการทำงานมีความสัมพันธ์ระดับความเครียด
References
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2564). รายงานผลการทบทวนผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคโควิด-19 ในระดับโลกและในประเทศไทย. จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1177420210915075055.pdf
กรมควบคุมโรค. (2565). พิมพ์เขียวการจัดการโรคอุบัติใหม่ (บทเรียนจากโควิด-19).จาก https://online.fliphtml5.com/hvpvl/otyo/
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2564). 10 ผลงานเด่น สปสช. ปีงบประมาณ 2564.จาก https://www.nhso.go.th/news/3390
มารยาท โยทองยศ และปราณี สวัสดิสรรพ์. (30 กรกฎาคม 2565). การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย. จาก http://www.fsh.mi.th/km/wp-content/uploads/2014/04/resch.pdf
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ. (2540). การสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง. วารสารสวนปรุง, 13(3), 1-20.
พิมลภัสร์ พุฒิพิพัฒน์. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของพนักงานให้บริการทางโทรศัพท์ในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. คลังทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/
อนุรัตน์ อนันทนาธร. (2559). ภาวะความเครียดและพฤติกรรมการจัดการความเครียดของข้าราชการตํารวจสังกัดตํารวจภูธรภาค 2. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 9(3), 137-171.
ภาพรรณ พุทธิยาวัฒน์. (2558). ความเครียดของเจ้าหน้าที่รับเรื่องทางโทรศัพท์ศูนย์ช่วยเหลือสังคม (1300) [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. คลังทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/
กรมสุขภาพจิต. (15 ธันวาคม 2565). ภาวะเครียดจากวิกฤติโควิด เช็กอาการเบื้องต้น หลายคนเผชิญโดยไม่รู้ตัว. จาก https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=31067
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). สรุปผลที่สำคัญการสำรวจสุขภาพจิต (ความสุข) ของคนในประเทศไทย พ.ศ.2563. ห้างหุ้นส่วนจำกัด บางกอกบล็อก. https://www.nso.go.th/nsoweb/storage/survey_detail/2023/20230505104130_19919.pdf
Montalbo. (2016). The Burnout Level of Call Center Agents in Metro Manila, Philippines. International Letters of Social and Humanistic Sciences, 70, 21-29. doi:10.18052/www.scipress.com/ILSHS.70.21
ธรณินทร์ กองสุข และคณะ. (2549). ประมวลองค์ความรู้ความเครียดและการคลายเครียด.กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.
วงศ์ลัดดา วีระไพบูลย์ และคณะ. (2563). ความไม่มั่นคงในการทำงานและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร การศึกษาการระบุตัวตนต่อองค์กร และการสนับสนุนของเพื่อนร่วมงาน. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 7(2), 188-200. doi:10.14456/jmsnpru.2020.39