การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของพื้นที่ กรณีศึกษา การใช้งานระบบจอดรถอัตโนมัติ ประเภท Elevator Parking Systems บริเวณของคอนโดมิเนี่ยมห้าแยกลาดพร้าว

ผู้แต่ง

  • อดุลย์ จุลบุตร นักศึกษาปริญญาโท สาขาการตรวจสอบและกฎหมายวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ชลีพรณ์ ธรรมพรรัมย์ อาจารย์พิเศษ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • เสรีย์ ตู้ประกาย รองศาสตราจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • มงคล รัชชะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง Corresponding author
  • สมพร ธเนศวานิชย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

คาร์บอนฟุตพริ้นท์, ก๊าซเรือนกระจก, ระบบจอดรถอัตโนมัติ

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์บริเวณของระบบจอดรถอัตโนมัติประเภท Elevator Parking Systems ในพื้นที่ของคอนโดมิเนี่ยมห้าแยกลาดพร้าว โดยใช้ข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 ถึง เมษายน พ.ศ. 2567 โดยมีการบันทึกข้อมูลที่แบ่งกิจกรรมออกเป็น 3 ประเภท 1.เพื่อประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของระบบจอดรถอัตโนมัติประเภท Elevator Parking Systems 2 .เพื่อเปรียบเทียบการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระหว่างกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในระบบจอดรถอัตโนมัติ3. เพื่อเสนอแนวทางในการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของพื้นที่โครงการ เพื่อประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของระบบจอดรถอัตโนมัติประเภท Elevator Parking Systems เพื่อเปรียบเทียบการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระหว่างกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในระบบจอดรถอัตโนมัติ เพื่อเสนอแนวทางในการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของพื้นที่โครงการ การเก็บข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 ประเภท: 1. การบันทึกการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการขับรถเข้ามาในโครงการเพื่อใช้งานระบบจอดรถอัตโนมัติ 2.การบันทึกการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้งานระบบจอดรถอัตโนมัติที่ใช้ไฟฟ้าเป็นพลังงานหลัก 3. การบันทึกการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้กระดาษในการจดบันทึกการใช้งานของพนักงาน การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพริ้นท์เพื่อคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมแต่ละประเภท และเปรียบเทียบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมเหล่านี้ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพริ้นท์เพื่อคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมแต่ละประเภท และเปรียบเทียบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมเหล่านี้ใช้วิธีการวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพริ้นท์เพื่อคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมแต่ละประเภท และเปรียบเทียบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมเหล่านี้         ผลการศึกษา 1. ประเภทที่ 2 มีกิจกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด เนื่องจากระบบจอดรถอัตโนมัติประเภท Elevator Parking Systems ใช้ไฟฟ้าเป็นพลังงานหลักในการทำงาน ซึ่งจะช่วยลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่ปล่อยจากรถยนต์ที่ต้องขับอยู่ในพื้นที่โครงการเพื่อหาที่จอดเอง 2. ประเภทที่ 1 มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเนื่องจากการขับรถเข้ามาในโครงการเพื่อใช้งานระบบจอดรถอัตโนมัติ แต่ถูกจำกัดระยะทางจากทางเข้า-ออกโครงการถึงจุดจอดรถอัตโนมัติไว้แล้ว 3. ประเภทที่ 3 มีกิจกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่น้อยที่สุด เนื่องจากเป็นการใช้กระดาษของพนักงานในการจดบันทึกการใช้งาน

References

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรแยกตามขอบเขต https://ghgprotocol.org/corporate- value-chain-scope-3-standard

กฎกระทรวง ฉบับที่ 41 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

กฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2517) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479

ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการควบคุมอาคาร

คู่มือการดำเนินงานสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ "Net Zero Journey Guideline version 2023"

จิรัฐดิษฐ์ จันทร์หอม และ วันมาฆ พรมโชโต,2562ป็นการศึกษาเปรียบเทียบระบบที่จอดรถอัตโนมัติ โดยเน้นไปที่การประเมินผลการใช้งาน ความพึงพอใจของผู้ใช้ และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

นิตยสารการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) www.tgo.or.th

แนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร โดย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) พิมพ์ครั้งที่ 6 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4,ธันวาคม 2561)

พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระปริเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ไว้ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เป็นปีที่ 4ในรัชกาลปัจจุบัน

ไพรัช อุศุภรัตน์ และหาญพล พึ่งรัศมี (2557) การประเมินคาร์บอนฟุตพรินท์องค์กรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ยุทธศาสตร์การจัดการมลพิษ 20 ปี และแผนจัดการมลพิษ พ.ศ. 2560-2564 , กรมควบคุมมลพิษ

รัชชานนท์ สุขสวัสดิ์" และ นที สุริยานนท์ -2566 คาร์บอนฟุตพรินต์องค์กร กรณีศึกษา โรงหล่อชิ้นส่วนสำเร็จรูป บริษัท กาญจน์กนก พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด

ระบบลิฟท์จัดเก็บรถอัตโนมัติระบบ Rotary Parking https://parkplusth.com/project/pansak-office/

ระบบลิฟท์จัดเก็บรถอัตโนมัติระบบ Puzzle Parking https://thsparking.co.th/product/id/5

รายงานสถิติการขนส่งปีงบประมาณ 2562-2566

รายงานสถิติการอนุญาตปลูกสร้างอาคารในเขตกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ.2562

วริศรา สิขิวัฒน์, วิภาดา ทองหอม, ศุภิสรา แขวงโสภา,ธนกฤต เนียมหอม และวิธิดา พัฒนอิสรานุกูล*(2563) คาร์บอนฟุตพรินท์ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตพญาไท

เว๊บไซต์กองประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศhttps://climate.onep.go.th/th/knowledge/ghg/

สุวิชา บริบูรณ์ (2566) การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรกรณีศึกษา กระบวนการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3

สิริกานตย์ นิธิศักดิยานนท์ (2559) การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของงานโครงการสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินและอุโมงค์ทางวิ่ง

สรัลรัชว์ สุธรรมทวี, 2554 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียม ในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). (2566). คาร์บอนฟุตพริ้นทร์ขององค์กร. ค้นเมื่อ 2 มกราคม 2567,จากhttp://thaicarbonlabel.tgo.or.th

อมรชัย สุทินเผือก (2565) การศึกษาปัจจัยระบบจอดรถอัตโนมัติที่ส่งผลต่อการตรวจสอบอาคารสูงของภาคเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31