ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมกับพฤติกรรมในการจัดการขยะมูลฝอย ของประชาชนในเขตอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ถนอม ผิวหอม นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม, พฤติกรรมในการจัดการขยะมูลฝอย, ประชาชนในเขตอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงแบบสำรวจภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ระดับพฤติกรรมในการจัดการขยะมูลฝอย และความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมกับพฤติกรรมในการจัดการขยะมูลฝอย เก็บรวบรวมข้อมูลกับประชาชนอายุระหว่าง 18-59 ปี ในเขตอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 381 คน โดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.72-0.84 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Pearson’s Correlation Coefficient
     ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 80.1 พฤติกรรมในการจัดการขยะมูลฝอย อยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 61.4 และภาพรวมความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับพฤติกรรมในการจัดการขยะมูลฝอย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.450, p-value<0.001)

References

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศ ปี 2565. เข้าถึงจาก https://www.mots.go.th/news/category/766

กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ. รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยในชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2565. กรุงเทพมหานคร, 2565.

มัตติกา ยงอยู่. “การจัดทำสถานการณ์ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ จากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่เมือง อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในเขตสุขภาพที่ 5”. 2563. เข้าถึงจาก https://hpc.go.th/rcenter/_fulltext/20221223153805_4419/20230106143602_3102.pdf

วชิระ เพ็งจันทร์. “เอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรกรมอนามัย เรื่อง ความรอบรู้สุขภาพมุ่งสู่ประเทศไทย”. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี, 2560.

วิสาขา ภู่จินดา. “ระเบียบวิจัยและสถิติสิ่งแวดล้อม”. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บางกอกบล็อก; 2553.

Best, John W. “Research in Education”. (4rd ed). Englewood Cliff, N.J.: Prentice Hall, 1981.

Wiersma, W. and G. Jurs, S. “Research Method in Education an Introduction”. (9th ed). Massachusetts: Pearson, 2009.

อำคา แก้วประมูล และพิทยา ธรรมวงศา. “ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของแกนนำชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผือ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี”. 2566. เข้าถึงจาก https://backoffice.udpho.org/openaccess/index.php

ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์, นรีมาลย์ นีละไพจิตร และณัฐนารี เอมยงค์. “รายงานฉบับสมบูรณ์ เรื่องโครงการ สำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพ เกี่ยวกับความเข้าใจเรื่องโรคการปฏิบัติตัวและการได้รับวัคซีนโควิด-19ของประชาชน กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้สูงอายุ และผู้พิการทางการเห็น”. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2564.

ประจวบ แสงดาว, ชัชนันท์ ปู่แก้ว และสุนิสา ตุ้มทอง. “ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมกับพฤติกรรมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ของเครือข่ายเฝ้าระวังและสื่อสารเตือนภัยพื้นที่มลพิษทางอากาศ เขตสุขภาพที่ 4”. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 18(1): 209-223; มกราคม-เมษายน, 2567.

Te’eni D. Review: a cognitive-affective model of organizational communication for designing IT. MIS Quarterly. 2001; 25(2):251–312. doi: 10.2307/3250931

รัชชานันท์ ศรีสุภักดิ์, ปนัดดา งามเปรี่ยม, สุรัตนา เหล่าไชย และประภากร ศรีสว่าวงศ์. “ความสัมพันธ์ ระหว่างความรอบรู้ ทางสุขภาพกับการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคโควิด-19 ของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา: ตำบลแวงน่าง จังหวัดมหาสารคาม”. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 14(3): 104-114, 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31