การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังผู้สูงอายุอาการทรุดลงระหว่างรอตรวจ งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • อารียา พิสัยพันธ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลโพนพิสัย จ.หนองคาย
  • ลักขณา สุวรรณรอด พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลโพนพิสัย จ.หนองคาย
  • ขวัญกัลยา ปุนนา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลโพนพิสัย จ.หนองคาย

คำสำคัญ:

อาการทรุดลงระหว่างรอตรวจ, การเฝ้าระวังผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังผู้สูงอายุอาการทรุดลงระหว่างรอตรวจ งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้รับบริการอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มารับบริการงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย จำนวน 385 คน ระหว่างเดือนเมษายน ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2567 เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วยแบบสอบถามความรู้ของพยาบาล แบบประเมินความพึงพอใจต่อการบริการของผู้รับบริการและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ Wilcoxon Signed Ranks Test, One sample t-test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
     ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเฝ้าระวังผู้สูงอายุอาการทรุดลงระหว่างรอตรวจ คือ ZKT2G model ประกอบด้วย 1) การจัดพื้นที่บริการที่เหมาะสมมากขึ้น (Zone; Z) 2) พัฒนาความรู้แก่พยาบาลวิชาชีพในงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก (Knowledge; K) 3) การคัดแยกประเภทผู้ป่วยสูงอายุเพื่อเฝ้าระวังอาการทรุดลงมีความชัดเจนมากขึ้น (Triage & Fast tract; T) 4) มีแนวทางเฝ้าระวัง(Guideline) 5) มีการนิเทศติดตามอย่างต่อเนื่อง(Guidance) และผลการใช้รูปแบบการเฝ้าระวังฯพบว่า พยาบาลวิชาชีพมีคะแนนความรู้อยู่ในระดับมาก เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คะแนนความพึงพอใจของผู้รับบริการอยู่ในระดับมาก ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และระยะเวลารอคอยก่อนพบแพทย์ลดลงจาก 1 ชั่วโมง 25 นาที เหลือ 52 นาที

References

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2564. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ17 มี.ค.67]. เข้าถึงจาก : https://thaitgri.org/?p=40101.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุ. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 17 มี.ค. 67] เข้าถึงจาก :https://www.dop.go.th/th/know/1.

กรมการปกครอง. สถิติจำนวนประชากร. [อินเตอร์เน็ต]. 2567 [สืบค้นเมื่อ 17 มี.ค. 67] เข้าถึงจาก : https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/displayData.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโพนพิสัย. รายงานข้อมูลอำเภอโพนพิสัย. [อินเตอร์เน็ต]. 2567 [สืบค้น เมื่อ 15 มี.ค. 67] เข้าถึงจากhttps://3doctor.hss.moph.go.th/main/rp_tambon?region=8&prov=NDM=&provn=4Lir4LiZ4Lit4LiH4LiE4Liy4Lii&ampid=4305&ampn=4LmC4Lie4LiZ4Lie4Li04Liq4Lix4Lii.

สกานต์ บุนนาคและคณะ. รายงานการวิจัยการวิเคราะห์ภาวะสุขภาพ ภาระโรคและความต้องการบริการด้านสุขภาพในผู้สูงอายุไทย. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย(มส.ผส.) และ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.); 2563.

โรงพยาบาลโพนพิสัย. สถิติผู้รับบริการ พ.ศ. 2566. หนองคาย: โรงพยาบาลโพนพิสัย; 2567.

โรงพยาบาลโพนพิสัย. อุบัติการณ์งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก พ.ศ. 2566. หนองคาย: โรงพยาบาลโพนพิสัย; 2567.

Taro Yamane. Statistic: An Introductory Analysis. 2nd ed. New York: Harper & Row; 1970.

สังวาลย์ วงศ์สมศักดิ์. รูปแบบการจัดบริการพยาบาลในการเฝ้าระวังภาวะฉุกเฉินขณะรอตรวจแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2566; 3(3): 342-352.

เพ็ญจันทร์ โฮมหงษ์และคณะ. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะก่อนการตรวจรักษา งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2566; 39(2): 112-122.

ลัดดา อะโนศรี. การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มงานผู้ป่วยนอก. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา 2563; 5(2): 186-91.

นภา วงค์จำปา, ฉัตรชัย ไตรยราช และพิมพ์ญดา เนียมแดง. การพัฒนาระบบบริการงานพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน 2566; 9(1): 759-768.

อิ๋น วงษ์เคน. การพัฒนาแนวปฏิบัติการบริการทางการพยาบาลเพื่อการเฝ้าระวังผู้ป่วยอาการทรุดระหว่างรอตรวจแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน 2566; 8(2): 195-204.

วัชรีย์ ไกรสิงห์เดชา. การพัฒนาแนวทางการเฝ้าระวังผู้ป่วยอาการทรุดลงระหว่างรอตรวจของห้องตรวจศัลยกรรม กลุ่มงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. วารสารการพยาบาลสุขภาพและสาธารณสุข 2565; 1(1), 40-52.

สุวิมลรัตน์ รอบรู้เจน. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2560; 9(3), 57-69.

พัชรินทร์ เลิศวีระพล. รูปแบบการพัฒนาระบบการให้บริการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา 2566; 8(3): 462-469.

พัชนี สุมานิตย์. การพัฒนาระบบบริการงานพยาบาลผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลกุมภวาปีจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ 2565; 3(1): 85-98.

อัจฉราวรรณ ศรสว่าง. ผลการใช้แนวปฏิบัติลดระยะเวลารอคอยแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา 2564; 6(4): 181-18.

กิ่งเพชร ชินศิรประภา. การพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง งานผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมละสุขภาพชุมชน 2566; 8(3): 513-522.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31