การติดตามตรวจสอบจุลินทรีย์ในสิ่งแวดล้อมและการประเมินความเสี่ยง ในโรงงานผลิตน้ำดื่ม – กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
จุลินทรีย์ในสิ่งแวดล้อม, การประเมินความเสี่ยง, น้ำดื่ม, การวิเคราะห์อันตรายและจุดควบคุมวิกฤต (HACCP)บทคัดย่อ
การศึกษานี้ เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามตรวจสอบจุลินทรีย์ในสิ่งแวดล้อมในโรงงานผลิตน้ำดื่มแห่งหนึ่ง โดยการหาปริมาณจุลินทรีย์รวมและแบคทีเรียแกรมลบในอากาศ และเพื่อการประเมินความเสี่ยงจากการปนเปื้อนข้ามของจุลินทรีย์ในอากาศภายในโรงงาน ตามมาตรฐาน ISO 31000 ซึ่งวิเคราะห์ความเสี่ยงด้วยเทคนิคการวิเคราะห์อันตรายและจุดควบคุมวิกฤต (HACCP) และการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากผลคูณของระดับโอกาสการเกิดความเสี่ยงจากผลการคำนวณอัตราการปนเปื้อน กับระดับผลกระทบจากปริมาณและชนิดจุลินทรีย์ที่พบในผลิตภัณฑ์น้ำดื่ม
ผลการศึกษาพบว่า โรงงานนี้มีความเสี่ยงจากการปนเปื้อนข้ามของจุลินทรีย์ในอากาศที่ห้องบรรจุน้ำดื่ม บริเวณจุดบรรจุน้ำ สายพานลำเลียง และจุดปิดฝาขวด โดยผลการตรวจสอบเชื้อบริเวณที่เสี่ยงในช่วงสามเดือน พบจุลินทรีย์รวมในอากาศ คือ 37-83 cfu/4h และ 11-59 cfu/h รวมถึง แบคทีเรียแกรมลบ 0-11 cfu/4h ผลการวิเคราะห์ความเสี่ยง พบว่าอยู่ในระดับที่ 2 เป็นความเสี่ยงระดับต่ำ
References
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. รายงานประจำปี 2564 [Internet]. 2565. Available from: https://www.fda.moph.go.th/PLAN/SitePages/document-public.html
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. มกอช. 9015-2550: หลักการและแนวทางในการประเมินความเสี่ยงจากจุลินทรีย์. กรุงเทพฯ; 2550. p. 1.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 220. น้ำดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ฉบับที่ 3). 2544.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 284. น้ำดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ฉบับที่ 5). 2547.
จิราภร เพชรรักษ์, สุภาทินี โสบุญ, สุนันทา อุไรโรจน์. คุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทและน้ำแข็งในประเทศไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558. เอกสารประกอบการประชุมวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ ครั้งที่. 2558. Available from: http://e-library.dmsc.moph.go.th/ebooks/files/P3-6%20จิราภรณ์.pdf
International Organization for Standardization (ISO). ISO 31000:2018 Risk management - Guidelines. Geneva, Switzerland; 2018.
Codex. Recommended International Code of Practice – General Principles of Food Hygiene - CAC/RCP 1-1969, Rev. 4-2003. 2003.
Sandle T. Biocontamination Control for Pharmaceuticals and HealthCare. Oxford: Academic Press; 2019. p. 263, 275-7.
International Conference on Harmonisation. ICH guideline Q9 on quality risk management. London: European Medicines Agency; 2015. p. 9. Available from: https://www.ema.europa.eu/en/documents/scientific-guideline/international-conference-harmonisation-technical-requirements-registration-pharmaceuticals-human-use_en-3.pdf
International Organization for Standardization (ISO). ISO 11133:2014. Microbiology of food, animal feed and water – Preparation, production, storage and performance testing of culture media. 2014. p. 13, 76.
American Public Health Association (APHA). Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater. American Water Works Association, Water Environment Federation; 1999. p. 179. Available from: https://www.mwa.co.th/ewtadmin/ewt/mwa_internet_eng/ewt_dl_link.php?nid=220
European Commission [EU]. EudraLex–Volume 4–Good Manufacturing Practice (GMP) guidelines. Annex 1 [Internet]. 2008, November 25. Available from: https://ec.europa.eu/health/sites/health/files/files/eudralex/vol-4/2008_11_25_gmp-an1_en.pdf
World Health Organization (WHO). WHO Technical Report Series, No. 961, Annex 6. WHO Good Manufacturing Practices for sterile pharmaceutical products. 2011. p. 268. Available from: http://www.who.int/medicines/areas/quality_safety/quality_assurance/GMPSterilePharmaceuticalProductsTRS961Annex6.pdf
Pasquarella C, Pitzurra O, Savino A. The index of microbial air contamination. Journal of Hospital Infection. 2000;46:241–56.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61. น้ำดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท. 2524. p. 3.
สุดา สินสุวรรณรักษ์, ปิยะรัตน์ ปรีย์มาโนช, วงศกร พงศ์โสภิตานันท์, สุชาติ เหลืองประเสริฐ, เสรีย์ ตู้ประกาย, นันท์นภัสร อินยิ้ม. การประเมินความเสี่ยงจากจุลินทรีย์ในอากาศของโรงงานผลิตน้ำดื่ม. การประชุมวิชาการสิ่งแวดล้อมระดับชาติ ครั้งที่ 3; 2563 November 18–19; คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี, ไทย.
Codex Alimentarius Commission [CODEX]. General Principles of Food Hygiene – CXC 1–1969 [Internet]. 2020. Available from: https://www.fao.org/fao-who-codexalimentarius/sh-proxy/en/?lnk=1&url=https%253A%252F%252Fworkspace.fao.org%252Fsites%252Fcodex%252FStandards%252FCXC%2B1-1969%252FCXC_001e.pdf
Salustiano VC, Andrade NJ, Brandão SCC, Azeredo RMC, Lima SAK. Microbiological air quality of processing areas in a dairy plant as evaluated by the sedimentation technique and a one-stage air sampler. Brazilian Journal of Microbiology. 2003;34:255–9.
Masotti F, Vallone L, Ranzini S, Silvetti T, Morandi S, Brasca M. Effectiveness of air disinfection by ozonation or hydrogen peroxide aerosolization in dairy environments. Food Control. 2019;97:32–4.