การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลท่าอุเทน นครพนม
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, รูปแบบการวางแผนจำหน่าย, เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลโรงพยาบาลท่าอุเทน นครพนม ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ ถึงพฤษภาคม 2567 กลุ่มเป้าหมายหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ที่รับไว้นอนโรงพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 1) รูปแบบการวางแผนจำหน่าย เครื่องมือที่ใช้ ในการพิจารณา แบบประเมินคัดกรองหญิงตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดที่แผนกฝากครรภ์ แบบปฏิบัติกิจกรรมการ พยาบาลตามกรอบแนวคิด (D-M-E-T-H-0-D) ให้ความรู้ การสอน การสาธิต และฝึกทักษะประเมินการหดรัดตัวของมดลูกด้วยตนเอง ใช้สื่อการสอน แจกแผ่นพับ และติดตามเยี่ยมทางโทรศัพท์ 1 สัปดาห์ 2) เครื่องมือที่ใช้ใน การรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบคัดกรอง แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของหญิงตั้งครรภ์ แบบประเมินความรู้หญิงตั้งครรภ์ แบบประเมินความพึงพอใจของหญิงตั้งครรภ์ แบบสอบถามความคิดเห็นและความพึงพอใจของทีมสุขภาพ แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยสูติกรรมเพื่อส่งต่อหญิงตั้งครรภ์ไปโรงพยาบาลจังหวัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา
ผลการศึกษา พบว่า อายุครรภ์ที่คลอด < 37 สัปดาห์ (ร้อยละ 60) มากกว่าการคลอดที่อายุครรภ์ < 37 สัปดาห์ (ร้อยละ 10) อัตราการกลับมารักษาซ้ำ ร้อยละ10 ไม่กลับมารักษาซ้ำ ร้อยละ 90 ไม่แตกต่างกัน ส่วนคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดภายหลังได้รับการให้ความรู้สูงกว่าก่อนการได้รับความรู้ ระดับความพึงพอใจของหญิงตั้งครรภ์หลังการพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่าย มีความพึงพอใจมากกว่าก่อนการพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่าย
References
ฐิรวรรณ บัวแย้ม, เพียงบุหลัน ยาปาน, สุจิตตรา พงศ์ประสบชัย.การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงต่อ การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. Rama Nurs J September-December 2019.
สำนักงานสาธารณสุขนครพนม. (2565) ข้อมูล HDC, สำนักงานสาธารณสุขนครพนม
โรงพยาบาลท่าอุเทน จังหวัดนครพนม. (2565) รายงาน ก 2, โรงพยาบาลท่าอุเทน
ประชุมพร สุวรรณรัตน์และคณะ.(2565) ศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมศักยภาพสตรีตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดต่ออัตราการเกิดภาวะเจ็บครรภ์คลอดและการคลอดก่อนกำหนด วารสารการพยาบาลสุขภาพและการศึกษา ; กันยายน – ธันวาคม 2565 ปีที่5 ฉบับที่3
อัสมะ จารู .(2561).ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่ประสบความสำเร็จในการยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด.วิทยานิพนธ์คณะพยาบาลศาสตร์มหาบัณทิต มหาวิทยาลัยสงขลาศรนครินทร์
สุนทรี ไชยเจริญ (2554) ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดใน หญิงตั้งครรภ์มุสลิม.วิทยานิพนธ์คณะพยาบาลศาสตร์มหาบัณทิต มหาวิทยาลัยสงขลาศรนครินทร์
ชฎารัตน์ แก้วเวียงเดชและคณะ(2560) ผลของการพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายหญิงตั้งครรภ์ที่มี ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลอำนาจเจริญ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล