ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดไม่ได้บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดไม่ได้ ซึ่งขึ้นทะเบียนและรับการตรวจรักษาที่คลินิกโรคเบาหวาน แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลหนองกุงศรี อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้รับการตรวจเลือดประจำปีในรอบที่ผ่านมา (ปีงบประมาณ 2567) ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดได้ จำนวน 42 คน โดยการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยเข้ารับโปรแกรมฯ ระยะเวลาดำเนินการ ระหว่างเดือน เมษายน 2567 ถึง เดือน มิถุนายน 2567 รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ คือ โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้ แบบประเมินพฤติกรรม แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Paired t- test
ผลการวิจัย พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มตัวอย่าง หลังเข้าร่วมโปรแกรมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) 2) ค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลสะสมในเลือดระหว่างกลุ่มตัวอย่าง หลังเข้าร่วมโปรแกรม มีค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลสะสมในเลือดหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ ต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001)
References
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2566). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566. (พิมพ์ครั้งที1). กรุงเทพมหานคร:ศรีเมืองการพิมพ์.
วิชัย เอกพลากร. (2564). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที 6 พ.ศ.2562-2563. กรุงเทพกรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
นครินทร์ อาจหาญ, สุกัญญา บัวศรี และ ธีรพันธ์ จันทร์เป็ง. (2566). ผลของโปรแกรมการสร้างความตระหนักรู้ต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมง. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 5(1), 62-74.
Rosenstok, I.M. (1974) The health belief model and preventive health behavior. Health Education Monograph, 2(4), 354-386.
สิทธิพร เพชรทองขาว, อัญชิสา สุขบาล, ธีราพร สังข์รอด และ ฐิตินันท์ ชูเมฆ.(2566). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสาธารณสุขล้านนา, 19(2), 88-101.
สุรากรี หนูแบน, อารยา ปรานประวิตร และสาโรจน์ เพชรมณี. (2559). ผลของการใช้กระบวนการกลุ่มและแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันโรคเบาหวานของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฏร์ธานี. วารสารบัณฑิตวิจัย, 7(1), 101-104. สืบค้นเมื่อ 25กุมภาพันธุ์ 2567]; [แหล่งข้อมูล: https://so02.tci-thaijo.rg/index.php/banditvijai/article/view/96472
ดวงเดือน หันทยุง, วรพล แวงนอก และ วรากร เกรียงไกรศักดา. (2559). ผลของโปรแกรมประยุกต์ใช้ทฤษฏีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไผ่. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(1), 36-51.
สุนทรีย์ คำเพ็ง และคณะ. (2562). ผลของโปรแกรมการการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลัง กายน้ำหนักตัวและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2562; 74(2) : 74-85