การพัฒนาแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลอดเลือดส่วนปลายห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ขวัญจิตร์ มุงคุณ งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลสกลนคร
  • วิภา แก้วเคน งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลสกลนคร
  • วีรศักดิ์ มุงคุณ งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลสกลนคร

คำสำคัญ:

พยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลอดเลือดส่วนปลายห้องฉุกเฉิน, โรงพยาบาลสกลนคร

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นการพัฒนาแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลอดเลือดส่วนปลายห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลสกลนคร 2) รูปแบบการพัฒนาแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลอดเลือดส่วนปลายห้องฉุกเฉิน และ 3) ทดลองใช้การพัฒนาแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลอดเลือดส่วนปลายห้องฉุกเฉิน กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 35 คน กลุ่มเป้าหมายผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนารูปแบบการพัฒนาแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลอดเลือดส่วนปลายห้องฉุกเฉิน จำนวน 10 คนและกลุ่มเป้าหมายตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลอดเลือดส่วนปลายห้องฉุกเฉิน จำนวน 10 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับและแบบทดสอบความรู้ ความเข้าใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและค่าสถิติ t- test paired two sample
     ผลของการวิจัยพบว่า ผลการทดลองใช้การพัฒนาแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลอดเลือดส่วนปลายห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลสกลนคร พบว่า หลังการทดลองสูงสุดกว่าคะแนนก่อนการทดลอง มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

โรงพยาบาลสกลนคร. (2564). แบบรายงานการประเมินตนเอง. กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลสกลนคร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร กระทรวงสาธารณสุข.

จุไรรัตน์ ดวงจันทร์. (2560). ปัจจัยทำนายความตั้งใจในการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ขของนักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารฯผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI และอยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1. 6 (ฉบับพิเศษ พ.ศ. 2562), 15-28.

ชลธิชา โภขนกิจ. (2560). การพัฒนาตัวชี้วัดสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

McClelland, D.C. (1970). Testing for Competence rather than for Intelligence. Journal of American Psychologist, 30, 1-14.

ลำเทียน เผ้าอาจ. (2559). การทำงานเป็นทีมของข้าราชการในโรงเรียนขยายโอกาสอำเภอเมืองตราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

มารศรี ก้วนหี้น. (2561). การพัฒนาสมรรถนะพยาบาล วิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31