ผลของโปรแกรมการจัดการอาการปวดของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง โรงพยาบาลหนองคาย
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, มารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง, การจัดการความปวดโดยไม่ใช้ยาบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง ผลของโปรแกรมการจัดการอาการปวดของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง โรงพยาบาลหนองคาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เปรียบเทียบความเจ็บปวดระหว่าง ผู้ที่ไม่ได้รับโปรแกรมฯและได้รับโปรแกรมการจัดการความปวดของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจระหว่างผู้ที่ไม่ได้รับโปรแกรมฯและได้รับโปรแกรมการจัดการความปวดของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ใช้รูปแบบการวิจัยแบบการวิจัยในกลุ่ม True Experimental ประเภท pretest-posttest control group แบบ 2 กลุ่ม วัดผลกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 30 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบใช้ความน่าจะเป็น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการจัดการความปวด แบบประเมินความปวด และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน chi-square สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ กรณีเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม ใช้สถิติ Independent-Samples Test ส่วนกรณีการวัด ก่อน-หลัง การทดลองเลือกใช้สถิติ Paired-Samples T-test ที่ระดับนัยสำคัญที่ระดับ .05
ผลการวิจัย พบว่า 1) ค่าคะแนนความรู้สึกเจ็บปวด พบว่า ก่อนการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้สึกเจ็บปวดครั้งที่ 2 เท่ากับ 6.73 ( = 6.73) ส่วนหลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้สึกเจ็บปวด เท่ากับ 5.60 ( = 5.60) เมื่อเปรียบเทียบการใช้สถิติ Paired-Samples T-test ผลการวิเคราะห์ พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยของความเจ็บปวดหลังการทดลองน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 2) ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของมารดาหลังการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องต่อการจัดการ ความปวดโดยไม่ใช้ยา ก่อนทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยของความพึงพอใจ เท่ากับ 2.43 ( = 2.43) ส่วนหลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยของความพึงพอใจ เท่ากับ 4.37 ( = 4.37) เมื่อเปรียบเทียบการใช้สถิติ Paired-Samples T-test ผลการวิเคราะห์ พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยของความพึงพอใจหลังการทดลองมากกว่า ก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
นวลอนงค์ ชัยปิยะพร คู่มือคุณแม่ 40 สัปดาห์แห่งการรอคอย : กายภาพบำบัดสำหรับหญิงมีครรภ์. พิมพ์ครั้งที่ ตรงที่ 19. กรุงเทพฯ: แสงแดด, 2551.
พจนี วงศ์ศิริ,ศุภดีวัน พิทักษ์แทน. ผลของการใช้โปรแกรมการจัดการความเจ็บปวดต่อการลดความปวด ความวิตกกังวลและความพึงพอใจในผู้ป่วยคลอดบุตรที่ได้รับความรู้สึกชนิดดมยาสลบห้องพักฟื้น โรงพยาบาลสุราษณ์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต.11;33คะนึงนิตย์ อ่อนปาน, นราภรณ์ ขุนกําแหง, 2563) :441-60.
คะนึงนิตย์ อ่อนปาน, นราภรณ์ ขุนกําแหง. ผลของผ้ารัดหน้าท้องต่อความปวดแผลหลังผ่าตัดคลอด.วารสารศูนย์การแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า.2563;37คะนึงนิตย์ อ่อนปาน, นราภรณ์ ขุนกําแหง, 2563) :196-203.
มณท์ธภัชรด์ สุนทรกุลวงศ์. คุณภาพการจัดการความปวดหลังผ่าตัดในสตรีหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย.[วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการพยาบาลผู้ใหญ่].กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยรังสิต; 2561.
เพ็ญศรี เรืองศรี.การพัฒนาแนวปฏิบัติการลดความปวดในสตรีผ่าตัดคลอด โรงพยาบาลสมุย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์.2564;8(ทิพวรรณ เอี่ยมเจริญ, 2560) :144-60.
ศศินาภรณ์ โลหิตไทย, บุญยิ่ง ทองคุปต์. ผลของรูปแบบผ้ารัดหน้าท้องประคบเย็นต่อความปวดแผลผ่าตัดในมารดาหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.2562;27(1): 23-32.
นูรีฮา ฤทธิ์หมุน, อัญชลี อินทสร. ผลของการจัดท่าให้นมบุตรต่อระดับความปวดแผลผ่าตัดและประสิทธิภาพการให้นมมารดาหลังผ่าท้องทําคลอด. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์.2555;32คะนึงนิตย์ อ่อนปาน, นราภรณ์ ขุนกําแหง, 2563) : 37-50.
ปัญญา สนั่นพาณิชกุล. แนวคิดเกี่ยวกับการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า.2561;35คะนึงนิตย์ อ่อนปาน, นราภรณ์ ขุนกําแหง, 2563) :312-20.
ดวงกมล ปิ่นเฉลียว, พรพรรณ ภูสาหัส. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความทุกข์ทรมานของสตรีหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง. วารสารพยาบาลทหารบก.2558;16(1):101-8.
จงจิต หาญเจริญ, ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อบริการพยาบาลบนหอผู้ป่วยศัลยกรรมชายโรงพยาบาลศิริราช. [ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2550.
ทิพาวรรณ คําห้าง,สุนิสา ปัทมาภรณ์พงศ์, สิริรธร สงวนเจียม. การจัดท่าให้นมบุตรเพื่อลดระดับความปวดแผลผ่าตัดและเพิ่มประสิทธิภาพการให้นมของมารดาหลังผ่าท้องทําคลอด. Journal of the Phrae Hospital.2559;23(ปัญญา สนั่นพาณิชกุล, 2562) :38-46.