ผลของรูปแบบการให้คำปรึกษาแบบรายบุคคลเพื่อลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่

ผู้แต่ง

  • อุทัยวรรณ พนาลิกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หัวหน้าห้องตรวจศัลยกรรม งานผู้ป่วยนอก กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลหนองคาย
  • มุกดา แก้วกัญหา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ งานห้องตรวจศัลยกรรม งานผู้ป่วยนอก กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลหนองคาย

คำสำคัญ:

ความวิตกกังวล, คำปรึกษาแบบรายบุคคล, ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

บทคัดย่อ

     การวิจัยเรื่อง ผลของรูปแบบการให้คำปรึกษาแบบรายบุคคลเพื่อลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อเปรียบเทียบผลการให้คำปรึกษาเพื่อลดความวิตกกังวลของในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ ระหว่างก่อนและหลังการให้คำปรึกษาแบบรายบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ จำนวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างที่อาศัยความน่าจะเป็น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการให้คำปรึกษาแบบรายบุคคลเพื่อลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ แบบประเมินความวิตกกังวล และแบบสอบถามสำหรับวัดความพึงพอใจสำหรับผู้ป่วย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานการวิจัย คือ Paired Samples T-test ที่ระดับนัยสำคัญ .05
     ผลการทดลองพบว่า หลังการทดลองผู้ป่วยที่ได้รับโปรแกรมรูปแบบการให้คำปรึกษาแบบรายบุคคลเพื่อลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ มีความวิตกกังวลลดลงน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้น และผู้ป่วยมีค่าคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจหลังทดลองมากกว่าก่อนทดลอง

References

World Health Organization. Breast Cancer. [Online] [cited 2023]., Available from: https://www.who.int/newsroom/fact-sheets/detail/breast-cancer.

Bray, McCarron, & Parkin. The Changing Global Patterns of Female Breast Cancer Incidence and Mortality. Breast Cancer Research 2017; 6(6): 229-239.

World Cancer Research Found. Global cancer statistics for the most common Cancers[Internet]. World Cancer Research Found; 2018. [cited 26 July 2023]. Retrieved from: https://www.wcrf.org/dietandcancer/cancertrends/worldwide-cancer data

สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ. อัตราตายด้วยโรคมะเร็งเต้านม. [อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ 5 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้ จาก:https://www.hiso.or.th/hiso/visualize/Index.php?links=v236

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: นิวธรรมดาการพิมพ์ ; 2562.

Ferlay J., Laversanne M., Ervik M. & Lam F., Colombet M., Mery L., Pineros M., Znaor A., Soerjomataram I., Bray F. Global Cancer Observatory: Cancer Tomorrow. Lyon, France: International Agency for Research on Cancer 2020. Retrieved from: https://gco.iarc.fr/today.

จารุนี แก้วอุบล.(2563).ประสิทธิผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทีได้รับการผ่าตัดเต้านม.วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสารคาม;4(7):13-27.

นิภา ใจสมคม และบังอร หนูบรรจง. (2566).ผลของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัด จังหวัดชุมพร.วารสารมหาจุฬานาคทรรศน์;10(2):435-451.

กนกวรรณ เหล่าสาร,มณฑิชา รักศิลป์ และชวนชัย เชื้อสาธุชน. (2563). ผลของโปรแกรมการพยาบาลองค์รวมที่มีต่อการลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านม.วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี;9(2):125-135.

Rogers CR. Client-Centered theory. Boston: Hougton Miffin Company; 1951

ธนา นิลชัยโกวิทย์, มาโนช หล่อตระกูล อุมาภรณ์ ไพศาลสุทธิเดช. การพัฒนาแบบสอบถาม Hospital Anxiety and Depression Scale ฉบับภาษาไทยในผู้ป่วยมะเร็ง.วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2539; 41(1)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31