การพัฒนารูปแบบบริการผู้สูงอายุมีภาวะพึ่งพิง แบบมีส่วนร่วมในชุมชนในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพระธาตุบังพวน จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • วิไลพร แก้วฝ่าย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพระธาตุบังพวน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
  • สมถวิล ศรีสวัสดิ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพระธาตุบังพวน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
  • พรรณิภา ไชยรัตน์ อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

พัฒนารูปแบบ แบบมีส่วนร่วมในชุมชน, การให้บริการ, ผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิง

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ (Participatory Action Research : PAR) มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ พัฒนารูปแบบและศึกษาผลลัพธ์ของการพัฒนารูปแบบบริการผู้สูงอายุมีภาวะพึ่งพิง แบบมีส่วนร่วมในชุมชน ดำเนินการ 3 ระยะ คือ 1.วิเคราะห์สถานการณ์ 2.พัฒนารูปแบบและ 3.ผลลัพธ์การพัฒนารูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม 1)กลุ่มเป้าหมายเชิงคุณภาพ 27 คน คือ ผู้ให้บริการ ได้แก่ ทีมบริการสุขภาพหน่วยปฐมภูมิ 8 คนและทีมบริการสุขภาพชุมชน 19 คน เก็บข้อมูลโดยสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึก 2)กลุ่มเป้าหมายเชิงปริมาณ คือ ผู้รับบริการเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 50 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบประเมินสุขภาพดัชนีบาร์เธลเอดีแอล และแบบประเมินคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ระยะเวลาดำเนินการ พฤษภาคม 2566 – เมษายน 2567 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Paired t-test 
     ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการให้บริการ คือ “โปรแกรมการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานตำบลพระธาตุบังพวน (Prathat Primary Digital Health : PPDH)” แบ่งเป็น 2 ประเด็น ดังนี้ 1) ทีมบริการสุขภาพหน่วยปฐมภูมิ ให้การดูแลด้วยแบบบันทึกการเยี่ยมบ้านตามแนวทาง IN HOMESS SS  2) ทีมบริการสุขภาพชุมชน ให้การดูแลตามแบบฟอร์มแผนการดูแล(Care Plan) หลังการพัฒนารูปแบบผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่ได้รับบริการ พบว่า1)ค่าเฉลี่ยความสามรถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันหลังดำเนินงานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value <001 เมื่อเทียบกับก่อนดำเนินงาน 2)คะแนนคุณภาพชีวิต(WHOQOL-BREF -THAD)หลังดำเนินงานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value<0.001 เมื่อเทียบกับก่อนดำเนินงาน และ3)มีความพึงพอใจในระดับดี ร้อยละ 94.2

References

Dahm TS, Bruhn A, LeMaster M. Oral care in the long-term care of older patlents: how can the dental hyglenist meet the need? Am J Dent Hyg. 2015; 89(4): 229-237.

Artsanthia J, Pomthong R. The trend of elderly care in 21*century: challenging in nursing care. Journal of The Royal ThaiArmy Nurses 2018; 19(1): 39-46. (in Thai).

Prasartkul P, editor. Situation of the Thai el-derly 2014. Amarin printing and publishing; 2015.(in Thai).

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ. แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545–2564) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์; 2552.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การทำงานของผู้สูงอายุปี 2560. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 12 ธันวาคม 2565]; จาก www.nso.go.th/sites/2014/Pages/News/2561/N08-02-61-1.aspx.

ศิริลักษณ์ มีมาก และคณะ. ยุทธศาสตร์กรมกิจการผู้สูงอายุ 20 ปี. กรุงเทพ: โรงพิมพ์สามลดา; 2561.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพระธาตุบังพวน. สถิติผลการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ. หนองคาย: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพระธาตุบังพวน; 2566.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แบบสอบถามความสามรถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel Activity of Daily Living index: ADL). 2557.

นายสุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล. แบบสอบถามคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย(WHOQOL-BREF -THAD). เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง; 2545.

สุวิมล คำย่อย. ความพึงพอใจของผู้รับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านหยวก อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี [การค้นคว้าอิสระ]. อุดรธานี: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหยวก; 2555.

จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. วิจัยเชิงปฏิบัติการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2565.

ปิยรัตน์ ยาประดิษฐ์. การพัฒนาบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตำบลหนองสิม อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2562

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31