ผลการใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ 2 ส ต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการในคลินิกเวชศาสตร์วิถีชีวิต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี

ผู้แต่ง

  • สนทยา สิงห์นิกร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี กรมอนามัย

คำสำคัญ:

โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ 2 ส, ระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร, ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ 2 ส ต่อระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร (Fasting Plasma Glucose; FPG) ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2  ในคลินิกเวชศาสตร์วิถีชีวิต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มวัยทำงานที่มารับบริการในคลินิกเวชศาสตร์วิถีชีวิต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี เลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจง (Purposive Selection) มีระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร (Fasting Plasma Glucose; FPG) ในเลือดอยู่ระหว่าง 110-200 มล/ดล จำนวน 36 ราย ประเมินก่อน - หลัง (One Group Pre-posttest Desing) โดยเปรียบเทียบผลการใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ 2 ส เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การประเมินกิจกรรมทางกาย แบบประเมินความเครียด ST5 แบบประเมินพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ASSIST) และแบบสำรวจตัวเองว่าติดบุหรี่ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร (Fasting Plasma Glucose; FPG) ก่อนและหลัง ใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยสถิติ Paired Simple t-test
     ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส สามารถควบคุมระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร (Fasting Plasma Glucose; FPG) ได้ดีกว่าก่อนใช้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value ≤ 0.05

References

International Diabetes Federation. Rare Forms of diabetes [อินเตอร์เน็ต].2566. [เข้าถึงเมื่อ 2566 ธันวาคม 25]. https://idf.org/about-diabetes/rare-forms-of-diabetes.

จากฐานข้อมูล Health Data Center กระทรวงสาธารณสุข. ในปี 2564-2566 เขตสุขภาพที่ 4 [เข้าถึงเมื่อ 2567 เมษายน 2]. https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=7f9ab56b0f39fd053143ecc4f05354fc

หทัยรัตน์ อัจจิมานนท์. ป่วย เบาหวาน-ความดัน เพิ่มสูงทุกปี อคม.เขต 4 เผยสาเหตุหลัก ไม่มีมาตรการควบคุมการปรุงอาหาร. [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 2566 ธันวาคม 25]. https://www.thecoverage.info/news/content/4152.

ฐานข้อมูล Hox-sp. สถานการณ์ยอดผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี. 2566.

กองโรคไม่ติดต่อ/สำนักสื่อสารความเสี่ยง. รณรงค์วันเบาหวานโลก 2566 มุ่งเน้นให้ความรู้ประชาชนถึงความเสี่ยงโรคเบาหวาน และหากตรวจพบก่อนจะลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2566. [เข้าถึงเมื่อ 2566 มกราคม 3] https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=38403&deptcode=brc.

จุฑารัตน์ บุญพา และสุพัตรา ใจเหมาะ. (2558). ผลการใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยศาตร์การแพทย์แผนไทยต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 216-217.

รุจิรางค์ วรรณ์ธนาทัศน์. (2560). ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ และการรับรู้ความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ. 2ส.ของผู้สูงอายุ จังหวัดนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 4-5, 36(1), 2-11.

ขนิษฐา สระทองพร้อมและ สุทธิศักดิ์ สุริรักษ์. (2564). ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส. ในประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองรี. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน, 3(1), 38-50.

ศศิภัสช์ ช้อนทอง. ภาวะแทรกซ้อนทางไต. [เข้าถึงเมื่อ 2567 มีนาคม 17]. https://www.medparkhospital.com/disease-and-treatment/diabetes-mellitus

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31