ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ซ้ำของมารดาวัยรุ่น เขตสุขภาพที่ 4
คำสำคัญ:
การตั้งครรภ์ซ้ำ, มารดาวัยรุ่น, เขตสุขภาพที่ 4บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านพฤติกรรมสุขภาพ ปัจจัยด้านสังคม ความรู้ ทัศนคติ และการรับรู้ความสามารถในการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ รวมถึงการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ซ้ำของมารดาวัยรุ่น เขตสุขภาพที่ 4 กลุ่มตัวอย่างคือมารดาวัยรุ่นอายุน้อยกว่า 20 ปี มีประวัติการตั้งครรภ์ซ้ำ คือ มีการคลอดบุตรหรือแท้งบุตร หรืออยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 ขึ้นไป ที่มารับบริการที่คลินิกฝากครรภ์ ห้องหลังคลอด และ คลินิกวางแผนครอบครัว ในโรงพยาบาลรัฐ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา,ลพบุรี และสระบุรี จำนวน 157 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Chi-square และ Binary Logistic Regression
ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาวัยรุ่น มีอายุ 10-14 ปี ร้อยละ 2.55 และอายุ 15-19 ปี ร้อยละ 97.45 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตั้งครรภ์ซ้ำ คืออายุมารดาวัยรุ่น สถานะการศึกษาหลังคลอด รายได้ของครอบครัว การตั้งใจมีบุตร การวางแผนเลี้ยงดูบุตร การรับบริการฝากครรภ์ การรับบริการจากคลินิกวางแผนครอบครัว การคุมกำเนิดก่อนการตั้งครรภ์และหลังคลอดบุตร การเปลี่ยนคู่สมรส การมีเพื่อนอยู่ด้วยกันก่อนสมรส เพื่อนมีการเปลี่ยนคู่สมรสมากกว่า 1 ครั้ง และการรับรู้ความสามารถในการป้องกันการตั้งซ้ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.05 ซึ่งพบว่า การคุมกำเนิดของมารดาวัยรุ่นก่อนการตั้งครรภ์ พบว่า ถุงยางอนามัย มีโอกาสตั้งครรภ์ซ้ำสูงกว่ายาฝังคุมกำเนิด ถึง 7.6 เท่า (B=1.907, OR=7.62) และหลังคลอดบุตรยาเม็ดคุมกำเนิด มีโอกาสตั้งครรภ์ซ้ำ สูงกว่า ยาฝังคุมกำเนิด 5.6 เท่า (B=1.728, OR=5.63) รวมถึงการรับรู้ความสามารถในการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในระดับต่ำ มีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ซ้ำถึง 6.5 เท่าของมารดาวัยรุ่นที่มีความสามารถในการรับรู้ระดับสูง (B=1.837, OR=6.51)
References
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. การเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชนปี2560. [ออนไลน์] 2560 [อ้างเมื่อ 25 มกราคม 2567]. จากhttps://shorturl.asia/RXAj4
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2565. กระทรวงสาธารณสุข. ฐานข้อมูล (HDC). (2565). [ออนไลน์] 2565 [อ้างเมื่อ 22 มกราคม 2567]. จากhttps://hdcservice.moph.go.th.
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชนปี 2561; 2562.
มนฤดี เตชะอินทร์ และพรรณี ศิริวรรธนาภา. การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. [ออนไลน์] 2555 [อ้างเมื่อ 25 มกราคม 2567]. จากhttps://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/2
พีระยุทธ สานุกูล และพียงจิตต์ ธารไพรสาณฑ์. ผลการตั้งครรภ์และการคลอดของวัยรุ่นในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 6. Thai Pharm Health Sci J. 2008; 3(1): 97-102.
Khunpradit S. Low Birth Weight: Fetal origins of adult disease. Chula Med J 2004; 361: 298-9
กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง และคณะ. ผลกระทบของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2557.
ฤดี ปุงบางกะดี่ และเอมพร รตินธร. ปัจจัยและผลกระทบจากการตั้งครรภ์ซ้ำของสตรีวัยรุ่นไทย:กรณีศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2557; 32(2): 23 - 31.
ไพลิน เชิญทอง, สุมาลี สายบุบผา. การคุมกำเนิดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น ในเขตสุขภาพที่ 1. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา (2562). ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2562. ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
อัญญา ปลดเปลื้อง. ประสบการณ์การป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ (2564). ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม - มิถุนายน 2564.
สุธน ปัญญาดิลก และเรณู ชูนิล. โครงการวิจัยการบริหารจัดการระบบการวางแผนครอบครัวของประเทศไทย. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กระทรวงสาธารณสุข; 2554.
Aemsamarng, P., Srisuriyawet, R. & Homsin. PRisk factors of unintended Repeated pregnancy among adolescents. The Public Health Journal of BuraphaUniversity. 2013; 8(1): 56–67. [In Thai]
Damle, L. F., Gohari, A. C., McEvoy, A. K., Desale, S. Y., & Gomez-Lobo, V. (2015). Early
initiation of postpartum contraception: Does it decrease rapid repeated pregnancy in adolescents? Pediatric and Adolescent Gynecology, 28: 57 – 62.
อังสนา วิศรุตเกษมพงศ์ , สมจิตร เมืองพิล. ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นนิพนธ์ต้นฉบับ ศรีนครินทร์เวชสาร 2558; 30(3): 262-269.
พิมพ์วดี โรจน์เรืองนนท์, อลิสา นิติธรรม, สุพัฒน์ ธีรเวชเจริญชัย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของนักศึกษาหญิงระดับอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร. (2560). นิพนธ์ต้นฉบับ. ปีที่ 36. ฉบับที่ 2, มีนาคม-เมษายน 2560