การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคหืดให้เข้าถึงบริการคุณภาพ ตามมาตรฐานเฉพาะโรคแบบไร้รอยต่อ โรงพยาบาลโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคหืด, คุณภาพคลินิกโรคหืด, การบริการแบบไร้รอยต่อบทคัดย่อ
การวิจัยเนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคหืดให้เข้าถึงบริการคุณภาพตามมาตรฐานเฉพาะโรคแบบไร้รอยต่อ โรงพยาบาลโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยเด็กโรคหืด และ ญาติผู้ดูแล จำนวน 64 คนเท่ากัน วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t-test ในส่วนของข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและแบบสามเส้าร่วมกัน
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยเด็กโรคหืด จำนวน 64 คน ส่วนมากเป็นเพศชาย ร้อยละ 60.94 อายุส่วนมากอยู่ในช่วง 6-10 ปี ร้อยละ 45.31 อายุเฉลี่ย 6.25 ปี มีประวัติโรคภูมิแพ้ในครอบครัว ร้อยละ 60.94 มีคนสูบบุหรี่ในบ้าน ร้อยละ 70.31 สัตว์เลี้ยงในบ้านส่วนมากเลี้ยงหมาและแมว ร้อยละ 43.75 การจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านส่วนมากไม่ได้จัดการสิ่งแวดล้อมในบ้าน ร้อยละ 65.63 การศึกษาของผู้ดูแลส่วนมากอยู่ในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 50.00 ระดับการควบคุมอาการโรคหืดส่วนมากควบคุมได้บางส่วน ร้อยละ 68.75 การใช้ยาพ่นควบคุมอาการชนิดสเตียรอยด์สม่ำเสมอทุกวันร้อยละ 84.00 โรคภูมิแพ้ที่พบร่วม ได้แก่ โพรงจมูกอักเสบ ร้อยละ 32.81 และผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ร้อยละ7.81 ตามลำดับ การทดสอบคะแนนความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคหืด และความพึงพอใจในผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคหืด พบว่า เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05, t=5.66, 5.22 ตามลำดับ)
References
Global Initiative for Asthma. Global strategy for asthma management and prevention, revised 2006. Edgewater, NJ: MCR Vision; 2006.
Centers for Disease Control and Prevention. National vital statistics survey, 2015–2018.
วันวิสา เสถียรพันธ์. กรณีศึกษาประสิทธิภาพการดูแลโรคหืดในเด็ก. แผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช.กรมอนามัย. กระทรวงสาธารณสุข 2565.
คณะกรรมการปรับปรุงการรักษาและการป้องกันโรคหืดในประเทศไทย สำหรับผู้ป่วยเด็ก. แนวทางการรักษาและป้องกันโรคหืดในประเทศไทยสำหรับผู้ป่วยเด็ก. 2563.
กลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลโพนทอง. รายงานผู้ป่วยเด็กโรคหืดและการวิเคราะห์สถานการณ์จากฐานข้อมูลสุขภาพ HDC. โรงพยาบาลโพนทอง. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด 2565.
เบญจารัตน์ ทรรทรานนท์ และคณะ. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเด็กโรคหืด.[วิจัยฉบับสมบูรณ์, คณะแพทย์ศาสตร์] ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2564.
วันเพ็ญ ทิพม่อม. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยเด็กโรคหืด โรงพยาบาลสกลนคร. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร.2564; 24(1), 1-10.
วงษ์เดือน จุแดง. พฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหืดในเด็ก 0-5 ปี ในโรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี.วารสารแพทย์เขต 4-5. 2563; 39(3), 488-499.
พนารัตน์ มัชปะโม.การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหืดโดยการมีส่วนร่วมเครือข่ายบริการสุขภาพโรงพยาบาลวาปีปทุมจังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสาธารณสุข.2560; 26(5), 896-904.
กัลยพัทธ์ นิยมวิทย์. การพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคหืดกำเริบเฉียบพลัน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี.2560; 28(1), 149-160.
ชยุตรา ด่านลี และคณะ. การรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลในการป้องกันอาการหอบหืดกำเริบในผู้ป่วยเด็กโรคหืด:การศึกษาเบื้องต้น.เอกสารประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ครั้งที่ 22. มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2564; 118-125.