โปรแกรมการเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ในหญิงตั้งครรภ์ เขตสุขภาพที่ 4
คำสำคัญ:
โปรแกรมการเฝ้าระวัง, ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก, หญิงตั้งครรภ์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ในหญิงตั้งครรภ์ เขตสุขภาพที่ 4 กลุ่มตัวอย่างคือ หญิงตั้งครรภ์ อายุระหว่าง 20 - 45 ปี ที่มารับบริการฝากครรภ์ ในเขตสุขภาพที่ 4 (จังหวัดสระบุรี นนทบุรี อ่างทอง) คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง (sample size) โดยใช้สูตรของ Krejcie and Morgan, 1970 จำนวน 248 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการรับรู้โอกาสที่เสี่ยงของการเกิดภาวะโลหิตจาง แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของการเกิดภาวะโลหิตจาง แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันภาวะโลหิตจาง แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจาง แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับภาวะโลหิตจาง แบบสอบถามพฤติกรรมบริโภคอาหารและยาเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจาง วิเคราะห์ข้อมูลโดยนำข้อมูลอายุ, สถานภาพสมรส, ระดับการศึกษา, อาชีพ, รายได้ของครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน, ลักษณะครอบครัว, อายุครรภ์ปัจจุบัน, ลำดับการตั้งครรภ์ครั้งนี้, การฝากครรภ์, ผลเลือดค่า Hematocrit (Hct) มาจัดกลุ่มแจกแจงเป็นความถี่และร้อยละ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ด้านการเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมเกี่ยวกับการป้องกันการปฏิบัติพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจาง โดยใช้สถิติ Paired Samples t–test
ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ใช้โปรแกรมการเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ในหญิงตั้งครรภ์ เขตสุขภาพที่ 4 ค่าเฉลี่ยของคะแนนแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ด้านการเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กมากกว่าก่อนใช้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
References
จรูญศรี มีหนองหว้า. แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 ของพระสงฆ์ในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์; 2565; 7(1): 817-832.
นวพร วุฒิธรรม และปุณยนุช พิมใจใส. การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2561; 24(1):139-148.
พนัชญา ขันติจิตร และคณะ. แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของประชาชน ในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ; 2564; 10(1).
พิชญวดี ใจสุภาพ และสุทธิชัย ศิรินวล. แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน; 2567; 10(1): 93-104.
มกรารัตน์ หวังเจริญ, จีรพรรณ ซ่อนกลิ่น, จุราพร สุรมานิต, อาภัสรา มาประจักษ์. ผลของโปรแกรมเพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อลดปัญหาโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์, 2566; 16(3).
แวนูรียะห์ แวบือราเฮ็ง. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมบริโภคอาหารและยาเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางของหญิงตั้งครรภ์. ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2561.
วรรณพร คำพิลา, เบญจพร ฐิติญาณวิโรจน์, สุกัญญา รักศรี, ปวินตรา มานาดี, ทิพวรรณ ทัพซ้าย, สุธิดา สิงห์ศิริเจริญกุล, การดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก: บทบาทที่ท้าทายของพยาบาล. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา; 2565; 3(2): 134-142.
จากฐานข้อมูล Health Data Center กระทรวงสาธารณสุข. ในปี 2564-2566 เขตสุขภาพที่ 4 [เข้าถึงเมื่อ 2567 เมษายน 11]. https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=7f9ab56b0f39fd053143ecc4f05354fc
World Health Organization [WHO], 2021 [เข้าถึงเมื่อ 2567 เมษายน 11]. https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/advice-for-public?adgroupsurvey{adgroupsurvey}&gad_source=1&gclid=Cj0KCQjwwO20BhCJARIsAAnTIVQ4X8QXA_O02YdBkKv2uQYnIS2gI6RDFwkVlyfrX_knpep7qlliaaIaAsksEALw_wcB
วราภรณ์ ปู่วัง. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดโรงพยาบาลหนองคาย. วารสารการพยาบาล สุขภาพและการศึกษา. 2565; 3(1):18-27.
อรทัย วงศ์พิกุล. (2565). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางซึ่งมารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ. ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา.