แนวทางการจัดการขยะในโรงแรมห้าดาวในจังหวัดภูเก็ต
คำสำคัญ:
ขยะมูลฝอย, การจัดการขยะ, โรงแรมห้าดาว, ภูเก็ตบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาปริมาณและองค์ประกอบของขยะมูลฝอยในโรงแรมห้าดาว 2. เพื่อศึกษาระบบการบริหารจัดการขยะในโรงแรมห้าดาว 3. เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสมในโรงแรมห้าดาว ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้จัดการโรงแรม 1 คน ผู้จัดการฝ่ายบุคล 1 คน ผู้จัดการแผนกช่าง 1 คน ผู้จัดการแผนกแม่บ้าน 1 คน และผู้จัดการแผนกอื่น ๆ ในโรงแรมอีก 6 คน และภายนอกองค์กรโดยสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวด้านสิ่งแวดล้อม 1 คน อาจารย์มหาวิทยาลัย 1 คน โดยมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด การเก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) ที่ประกอบไปด้วยข้อคำถามที่มาจากการศึกษาจากข้อมูลเอกสาร มาใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้วิธีเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เพื่อความเหมาะสมต่อการให้ข้อมูล ในองค์กรและการสนทนากลุ่ม (Fucus group) โดยใช้ตัวแทนจากแผนกต่าง ๆ จำนวน 10 คน การวิเคราะห์หาปริมาณของขยะมูลฝอย เป็นปริมาณที่เกิดขึ้นจากส่วนงานต่าง ๆ ของโรงแรมแรม โดยทำการชั่งน้ำหนักมูลฝอย และหาอัตราการเกิดขยะมูลฝอยของส่วนงานต่าง ๆ การวิเคราะห์องค์ประกอบของขยะมูลฝอย นำตัวอย่างขยะมูลฝอยที่สุ่ม โดยวิธีการแบ่ง4ส่วน (Quartering Sampling) ตามขั้นตอนการสุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลแนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอย (ข้อมูลเชิงคุณภาพ) การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม นำมาศึกษาและวิเคราะห์ตามกระบวนการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบคำถามงานวิจัย
ผลการศึกษาพบว่า โรงแรมห้าดาวในจังหวัดภูเก็ต มีปริมาณขยะเฉลี่ย 273.81 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งมีขยะมูลฝอยทั่วไปมากที่สุด มีขยะมูลฝอยทั้งสิ้น 4 ประเภท คือ ขยะมูลฝอยทั่วไปมากสุด (ร้อยละ 39.74) ขยะมูลฝอยอินทรีย์ (ร้อยละ38.73) ขยะมูลฝอยรีไซเคิล (ร้อยละ 21.04) และขยะมูลฝอยอันตราย (ร้อยละ0.49) ตามลำดับ แนวทางการจัดการขยะ ระบบการบริหารจัดการขยะของโรมแรมใช้หลัก 3Rs
References
สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร. 2556. คู่มือแนวทางจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน. กรุงเทพมหานคร: มาตาการพิมพ์.
กรมควบคุมมลพิษ.รายงานสรุปสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2564. สืบค้นจาก https://www.pcd.go.th/publication/26626/
สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดภูเก็ต, 2566 สืบค้นจาก https://phuket.mnre.go.th/th/index
จินตนา แสนวงค์. 2564. การศึกษาการลดก๊าซเรือนกระจกจากการคัดแยกขยะครัวเรือนเพื่อการรีไซเคิลภายใต้โครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจากกรณีศึกษา: โรงเรียนนายร้อยพระ จุลจอมเกล้า. วารสารวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. ปีที่ 19 2564.
สุทารัตน์ ชูดอก และเขมิกา สงวนพวก 2564. การบริหารจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลโก่งธนู อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์แสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 12(2) 28-48.
นภวรรณ รัตสุข. 2559. การจัดการขยะแบบบูรณาการในชุมชน, Veridian E-Journal,Science and Technology Silpakorn University Volume 3 Number 5September– October2016 (ISSN 2408 – 1248), มหาวิทยาลัยศิลปากร
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. 2566. สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/news/category/705
สถานีโทรทัศน์ไทยPBS. 2567, 5 มิถุนายน. "ขยะล้นเมือง" คนไทยสร้างขยะเฉลี่ย7.3 หมื่นตัน/วัน[ข่าวสิ่งแวดล้อม]. สืบค้นจาก, https://www.thaipbs.or.th/news/content/340722
Giang, H. M., Takeshi, F., & Song Toan, P. P. (2018). Waste separation at source and recycling potential of the hotel industry in Hoi An city, Vietnam. Journal of Material Cycles and Waste Management, 20(2), 121-132.
Pham Phu, S. T., Hoang, M. G., & Fujiwara, T. (2018). Analyzing solid waste management practices for the hotel industry. Global Journal of Environmental Science and Management, 4(1), 19-30.
ไพบูลย์ แจ่มพงษ์. (2553). การจัดการขยะโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน บริเวณตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
บรรจง วิทยถาวรวงศ์ และอิทธิกร ขําเดช. 2554. ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการแยกขยะครัวเรือนของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. การเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ 1(2): 85 – 112.
นายณัฐณรงค์ สุนทรวิภาต. 2563. การจัดการขยะมูลฝอยเชิงบูรณาการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี. การศึกษาอิสระปริญญาโท. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Giri, S. 2021. Integrate solid waste management: A case study of a hotel in Kathmandu, Nepal. EPRA Int J Multidiscip Res, 7(5), 264-268.