การศึกษารูปแบบการเตรียมความพร้อมการป้องกันการติดเชื้อโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ ในโรงพยาบาล : โรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 4

ผู้แต่ง

  • วิลาลักษณ์ ปุรัตถิภาค ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี กรมอนามัย

คำสำคัญ:

การเตรียมความพร้อมการป้องกันการติดเชื้อ, โรคติดเชื้ออุบัติใหม่

บทคัดย่อ

     การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษารูปแบบการเตรียมความพร้อมการป้องกันการติดเชื้อโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ในโรงพยาบาล : โรงพยาบาลชุมชนเขตสุขภาพที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ หัวหน้างานพยาบาลหน่วยควบคุมการติดเชื้อและงานจ่ายกลาง โรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 4 ของโรงพยาบาลระดับ M2 โรงพยาบาลระดับ F1 โรงพยาบาลระดับ F2 และโรงพยาบาลระดับ F3 จำนวน 60 แห่ง จำนวน 60 คน เครื่องมือในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลจากผลประชุมกลุ่มย่อย ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและนำมาสรุปเป็นความเรียง
     ผลการศึกษารูปแบบการเตรียมความพร้อมการป้องกันการติดเชื้อโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ในโรงพยาบาล : โรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 4 พบว่ามีรูปแบบการเตรียมความพร้อมการป้องกันการติดเชื้อโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ 13 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการรับรู้การเกิดโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ 2) ด้านการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อตามหนทาง การแพร่กระจายเชื้อ 3) ด้านการจัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ 4) ด้านการดูแลสุขภาพบุคลากรการแพทย์ 5) ด้าน การจัดบริเวณจุดคัดกรองผู้ป่วยโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ 6) ด้านการจัดสถานที่สำหรับผู้ป่วยโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ 7) ด้านการจัดสถานที่สำหรับทำหัตถการที่ทำให้เกิดฝอยละอองขนาดเล็ก 8) ด้านการจัดให้ผู้ป่วยอยู่ร่วมกันและมาตรการพิเศษ 9) ด้านการเก็บสิ่งส่งตรวจ 10) ด้านการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ 11) ด้านการกำหนดระยะเวลาในการควบคุมการติดเชื้อและการจำหน่ายผู้ป่วย 12) ด้านการให้คำแนะนำแก่สมาชิกในครอบครัวและผู้เข้าเยี่ยม และ 13) ด้านการจัดการศพผู้ติดเชื้ออุบัติใหม่

References

World Health Organization. (2024a). Summary of probable SARS cases with onset of illness from 1 November 2002 31 July 2003. [Online]. From http://www.who.int/csr/sars/country/ table 2004_04_21/en,

ฮักส์ อินชัวรันซ์ โบรกเกอร์. (2566). 7 โรคอุบัติใหม่ที่ต้องระวัง เสี่ยงเกิดได้กับคนทุกวัย. [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2566. สืบค้นจาก https://www.hugsinsurance.com/article/emerging-infectious-diseases

กรมควบคุมโรค. กระทรวงสาธารณสุข. (2566). ติดตามสถานการณ์โรคไวรัสมาร์บวร์ก. [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ วันที่ 31 มีนาคม 2566. สืบค้นจาก https://www.hfocus.org/content/2023/02/27073.

งานอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย โรงพยาบาลอุทัย. (2566). การเตรียมความพร้อม วิธีป้องกัน ควบคุมการติดเชื้อของโรค COVID-19. พระนครศรีอยุธยา : กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักงานเขตสุขภาพที่ 4 สระบุรี. (2566). ข้อมูลบุคลากร โรงพยาบาลชุมชน สำนักงานเขตสุขภาพที่ 4 สระบุรี. สำนักงานเขตสุขภาพที่ 4 สระบุรี.

พิชชาวรรณ เหล่าชัยเจริญผล. (2560). การเตรียมความพร้อมของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิในการป้องกันโรคติดเชื้ออุบัติใหม่. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการพยาบาลด้านการควบคุมการติดเชื้อ). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นิธิศ จินดารัตน์ และ ปริญญาภรณ์ พจน์อริยะ. (2564). การจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อการเตรียมความพร้อมในการป้องกันการติดเชื้อไวรัส โควิด-19 ของชุมชนเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (กลุ่มวิชาเอกการจัดการ). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิลาวรรณ ล้วนคงสมจิตร และคณะ. (2565). บทบาทของกลไก/ระบบสนับสนุนของยุทธศาสตร์ ความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข (2P Safety) 2561-2564 ต่อการเตรียมความ พร้อมของสถานพยาบาลในการรับมือการระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19. กรุงเทพฯ : โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP).

สมเจตน์ เหล่าลือเกียรติ และคณะ. (2566). “การวิจัยเพื่อศึกษาระบบป้องกันและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19)ในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี”, วารสารวิชาการสาธารณสุข. 32(3) : 479 – 487.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31