การศึกษาคุณภาพการจัดการดูแลผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือด ที่หน่วยงานการพยาบาลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี

ผู้แต่ง

  • ณิภา แสงกิตติไพบูลย์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ หน่วยงานการพยาบาลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี
  • อนงค์ สง่าเนตร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หน่วยงานการพยาบาลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี
  • ประภาภรณ์ ตาบุดดา พยาบาลวิชาชีพ หน่วยงานการพยาบาลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี

คำสำคัญ:

คุณภาพการจัดการดูแลผู้ป่วย, กลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือด

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพการพยาบาลในการจัดการดูแลผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือด ด้านโครงสร้าง ด้านกระบวนการ และด้านผลลัพธ์ ของงานการพยาบาลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี โดยใช้โมเดลการประเมินคุณภาพทางการพยาบาลของ Irvine และคณะ มาเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพจำนวน 69 คน และเวชระเบียนของผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี ระหว่างเดือน มกราคม 2564 ถึง ธันวาคม 2566 จำนวน 57 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจากพยาบาลวิชาชีพ ได้แก่ แบบวัดความรู้ในการดูแลผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือด และแบบสอบถามการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือด เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือด บันทึกกระบวนการดูแลและผลลัพธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย
     ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพการจัดการด้านโครงสร้าง พยาบาลวิชาชีพมีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดในระดับปานกลาง ร้อยละ 57.97 คุณภาพการจัดการด้านกระบวนการ พบว่า พยาบาลปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดบางประการไม่สม่ำเสมอ คุณภาพการจัดการด้านผลลัพธ์ พบว่า ผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดได้รับการเจาะเลือดเพาะเชื้อเฉลี่ย 29.61 นาที โดยร้อยละ 50.87 ได้รับการเจาะเลือดเพาะเชื้อในระยะเวลาเป้าหมาย (ไม่เกิน 30 นาที) ระยะเวลาการได้รับยาปฏิชีวนะเฉลี่ย 21.28 นาที โดยร้อยละ 84.21 ได้รับยาปฏิชีวนะในระยะเวลาเป้าหมาย (ไม่เกิน 60 นาที) และหลังการให้การดูแลผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดตามแนวปฏิบัติ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอาการดีขึ้นสามารถย้ายกลับหอผู้ป่วย ได้ ร้อยละ 66.70 และจำหน่ายกลับบ้าน ร้อยละ 21.10

References

World Health Organization. Global health estimates 2015 summary table [Internet]. 2016 [cited 2024 Jun 20]. Available from: http://www.who.int/healthinfo/global_burden_ disease/estimates/en/index1.html.

Angus DC, Van der Poll T. Severe sepsis and septic shock. New England journal of medicine. 2013;369(9):840-51.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2563 [Internet]. 2564 [cited 20 มิ.ย. 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://www.pcko.moph.go.th/Health-Statistics/statistic2563.pdf.

Castle SC, Norman DC, Yeh M, Miller D, Yoshikawa TT. Fever response in elderly nursing home residents: are the older truly colder? Journal of the American Geriatrics Society. 1991;39 (9):853-7.

Girard TD, Opal SM, Ely EW. Insights into severe sepsis in older patients: from epidemiology to evidence-based management. Clinical Infectious Diseases. 2005;40(5):719-27.

Opal SM, Girard TD, Ely EW. The immunopathogenesis of sepsis in elderly patients. Clinical infectious diseases. 2005;41(Supplement_7):S504-S12.

Irvine D, Sidani S, Porter H, O'Brien-Pallas L, Simpson B, Graydon J, et al. Organizational factors influencing nurse practitioners' role implementation in acute care settings. Canadian Journal of Nursing Leadership. 2000;13(3):28-35.

Bloom BS. Taxonomy of Educational Objectives: Handbook 1, Cognitive Domain. New York: Mackay; 1971.

Jeffery AD, Mutsch KS, Knapp L. Knowledge and recognition of SIRS and sepsis among pediatric nurses. Pediatr Nurs. 2014;40(6):271-8.

พรภนา วงศ์ธรรมดี, รัชนี นามจันทรา, วารินทร์ บินโฮเซน. คุณภาพการจัดการดูแลผู้ที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่หน่วยงานอายุรกรรม. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท. 2562;1(1):33-47.

ภัทราวรรณ ขุนทอง, วารินทร์ บินโฮเซน. คุณภาพการจัดการดูแลผู้มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด หอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม ดรงพยาบาลตติยภูมิ. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท. 2566;5(3):e3231.

วิไลวรรณ เนื่อง ณ สุวรรณ, จิราภรณ์ น้อมกุศล, รัตนา ทองแจ่ม. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2557;32 (2):25-36.

Torsvik M, Gustad LT, Mehl A, Bangstad IL, Vinje LJ, Damås JK, et al. Early identification of sepsis in hospital inpatients by ward nurses increases 30-day survival. Critical care. 2016; 20:1-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31