ผลของโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎี PRECEDE-PROCEED model ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้โรงพยาบาลเขาวง

ผู้แต่ง

  • ยุวดี คาดีวี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลเขาวง
  • วิชชุนี ละม้ายศรี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลเขาวง

คำสำคัญ:

PRECEDE-PROCEED model, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้

บทคัดย่อ

     การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎี PRECEDE-PROCEED model ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ โรงพยาบาลเขาวง วิธีการดำเนินการวิจัย ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ถูกสุ่มเข้าเป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 120 คน และได้รับการสุ่มเข้าสู่กลุ่มทดลอง 60 คนและกลุ่มควบคุม 60 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎี PRECEDE-PROCEED model ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ ขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เก็บข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามและการจดบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และสถิติอ้างอิง (t-test, chi-square, repeated-measures analysis of variance)
     ผลการวิจัย กลุ่มทดลองมีความรู้ พฤติกรรม น้ำตาลในเลือด น้ำตาลสะสมดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ โปรแกรมมีค่าขนาดอิทธิพลปานกลางถึงสูง ผู้เป็นเบาหวานในกลุ่มทดลองสามารถรักษาพฤติกรรมสุขภาพคงอยู่นาน 12 เดือน

References

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, ข้อมูลเขตสุขภาพที่ 7 ความชุกของผู้ป่วยโรคเบาหวาน 2563.

โรงพยาบาลเขาวง, รายงานผลการดำเนินงานโรงพยาบาลเขาวง, 2563

Bandura A. Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman and Company; 1997.

พรพนิต ปวงนิยม. ผลของรูปแบบการรับรู้ความสามารถตนเองต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง อำเภอเมือง จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์ (พย.ม.), มหาวิทยาลัยบูรพา, 2552.

Norris S, Engelgau M, Narayan KM. Effectiveness of self-management training in type 2 diabetes. Diabetes Care. 2001; 24(3):561-87.

American Diabetes Association. Standards of medical care in diabetes 2012. Diabetes Care. 2011;35 (Suppl): S11-S63.

Holman RR, Paul SK, Bethel MA. 10-year follow-up of intensive glucose control in type 2 diabetes. N Eng J Med. 2008; 359:1577-89.

Green LW, Kreuter MW. Health program planning: An educational and ecological approach. 4th ed. Boston: McGraw-Hill: 2005.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. การออกกำลังกายทั่วไปและเฉพาะโรคผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2553.

Powwattana, P. and et al. Health promotion and disease prevention in community:an application of concepts and theories to practice. 3rd ed. Khon Kaen. Klungnana Vitthaya Press. 2013.Thai.

Ua-Kit, N. and Pensri, L. Utilization of the PRECEDE MODEL in health promotion. Thai Red Cross Nursing Journal. 2019;12: 38-48. Thai.

Phanwattana, P. Food consumption behavior of working age people in Bangkok. The Office of Disease Prevention and Control 7 Khon Kaen. 2019;26: 93-103. Thai

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31