การพัฒนาโปรแกรมป้องกันโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หน่วยบริการปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลมัญจาคีรี อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • จิตเกษม เบ็ญจขันธ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลมัญจาคีรี อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

โปรแกรมป้องกันโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

     การวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาโปรแกรมป้องกันโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอำเภอมัญจาคีรี แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 34 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเป็นโปรแกรมป้องกันโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ใช้เวลา 10 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนา สถิติ Paired t-test และ สถิติ Independent t-test
     ผลการวิจัยพบว่า หลังใช้โปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับคะแนนการรับรู้ความสามารถตนเอง ค่าเฉลี่ยระดับคะแนนความคาดหวังในผลลัพธ์ และค่าเฉลี่ยระดับคะแนนพฤติกรรมป้องกันโรคแทรกซ้อนของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนใช้โปรแกรมฯ และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และพบว่า หลังใช้โปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารก่อนอาหารเช้า และค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดสะสม ต่ำกว่าก่อนใช้โปรแกรมฯ และต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

โรงพยาบาลมัญจาคีรี. รายงานการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 28 พ.ย. 66]. เข้าถึงจาก: https://www.manchakirihospital.go.th/index.php

Bandura, A. Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review, 84, 191-215; 1977.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด. นนทบุรี: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2553.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์; 2566.

สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์. แนวทางเวชปฏิบัติ การออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระราชูปถัมภ์; 2555.

สุทัสสี รังวารี. ผลการใช้โปรแกรมการให้ความรู้สาหรับการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลอากาศอำนวย. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา 2566; 3:152-161.

วัชราพร เนตรคำยวง. ผลของการพัฒนารูปแบบการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ โรงพยาบาลบ้านธิ จังหวัดลำพูน. วารสารวิจัยพยาบาลและการสาธารณสุข 2566; 3:78-95.

วงศ์จันทร์ นุตเวช. ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลบ้านโคก. วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิและสาธารณสุข 2567; 2:88-78

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31