การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อลดเกลือโซเดียมในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ยุภาพร ทรงศรี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี
  • ชลการ ทรงศรี ผู้ช่วยศาตราจารย์สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก Corresponding author
  • จตุฤทธิ์ พรมศาลา นักจัดการทั่วไป งานวิจัยและนวตกรรม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, การบริโภคเพื่อลดเกลือโซเดียม, กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

     การวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีเกลือ โซเดียม และค่าโซเดียมในอาหารในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง   กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจงจำนวน 105  คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1)กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่มีปริมาณเกลือและโซเดียมสูง และ 3) แบบประเมินพฤติกรรมเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่มีปริมาณเกลือและโซเดียมสูง เครื่องมือมีค่าความสอดคล้อง (IOC) 0.67 - 1.00 มีค่าความเชื่อมั่น 0.82 และ 0.80 ตามลำดับ ทำการวิจัยระหว่างเดือนเมษายน-เดือนมิถุนายน 2567 เป็นเวลา 12 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเปรียบเทียบโดยการทดสอบค่าที
     ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 69.9  อายุเฉลี่ย 56 ปี อายุต่ำสุด 36 ปี อายุสูงสุด 91 ปีส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรร้อยละ 34.28  จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 77.73  มีค่าความดันโลหิตเข้าข่ายสงสัยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 66.7 เมื่อประเมินค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่มีปริมาณเกลือและโซเดียมสูง พบว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้อยู่ในระดับปานกลาง (𝑥̅=10.15, SD=1.65) และหลังการเข้าร่วมกิจกรรมปรับพฤติกรรมมีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (𝑥̅=13.28, SD=1.30) โดยค่าเฉลี่ยคะแนนมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p-value = 0.00) พฤติกรรมในการปรุงอาหารก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (𝑥̅=2.25, SD=.50 ) และหลังการเข้าร่วมกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับดี (𝑥̅=2.54, SD=0.53 ) (p-value = 0.00) ผลการเปรียบเทียบค่าค่าเฉลี่ยความดันโลหิต Systolic หลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพบว่ามีค่า 122.9  mmHg. (SD=6.35) ซึ่งลดลงจากก่อนการเข้าร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมซึ่งมีค่าความดันโลหิตอยู่ที่ 138.4 mmHg. (SD=6.42) (p-value = 0.00) ในทำนองเดียวกันค่าเฉลี่ย Diastolic หลังการเข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 75.94 mmHg. (SD=7.41) ซึ่งลดลงจากก่อนการเข้าร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 81.73 mmHg. (SD=7.81) (p-value = 0.00)  ค่าเฉลี่ยความเค็มของอาหารมีค่าเฉลี่ย 0.674% (SD=0.26 ) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.959 % (SD=0.38) (p-value = 0.00)

References

ธิดารัตน์ อภิญญา.รายงานผลการทบทวนรูปแบบการดาเนินงานป้องกันโรคไม่ติดต่อในวิถีชีวิตด้วยการลดการบริโภคเกลือ. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2556.

World Health Organization. Global statusreport on noncommunicable diseases2010.Geneva: World Health Organization; 2011.

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2552. นนทบุรี: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ; 2555.

กาญจนา มณีทัพ, และ สมจิต แดนสีแก้ว. สถานการณ์การบริโภคเกลือของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจังหวัดขอนแก่น. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2560,35(4), 139-49.

สำนักสถิติแห่งชาติ. การสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2561.

World Health Organization. Global Action Plan for the Prevention and Control of Noncommunicable Diseases 2013-2020. Geneva: World Health Organization. 2013.

กองตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข. สรุปการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขต 8 อุดรธานี รอบ 2/2566. [cited 2024 March 06]: https://inspection.moph.go.th/e inspection/public/visit.php?id_area=M213cVNYOXprZXpzNFlsaENlYWxkZz09

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. เอกสารประกอบการตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติ จังหวัดอุดรธานี รอบที่ 2 ปีงบประมาณ 2566. อุดรธานี. 2566.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ระดับจังหวัด. กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี 2565.

Irwan, AM. et al. Development of the salt reduction and efficacy-maintenance program in Indonesia. Nursing and Health Sciences, 2016.18:519–532.

Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A. Health promotion in nursing practice.(4th ed.) New Jersey: Pearson Education, 2002.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.-G., & Buchner, A. G*Power 3: A flexible statistical

power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 2007. 39, 175-191.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. คู่มือการสำรวจปริมาณโซเดียมในอาหารด้วยเครื่องวัดความเค็ม (Salt Meter) 2565. [cited 2024 March 06]: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1238320220301081354.pdf

Bloom, B.S. Handbook on formative and summative evaluation of student learning.New York: McGraw–Hill. 1971.

บุญชม ศรีสะอาด.การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, 2545.

Nakano M, et al. Effect of Intensive Salt-Restriction Education on Clinic, Home,and Ambulatory Blood Pressure Lavels in Treated Hypertension Patients Druing a 3-Month Education Period. Journal of Clinical Hypertension [Internet]; 2016 [cited 2024 March 06]: 18(5):385392. Available from: Doi: 10.1111/jch.12770.

Ferrara LA, et al. Lifestyle Education Program Strongly Increases Compliance to nonpharmacologic intervention in Hypertension patient: A2-Year Follow-Up Study. Journal of Clinical Hypertension [Internet]; 2012 [cited 2024 March 10]; 14(11):767-772. Available from: Doi: 10.1111/jch.12016.

Dahl LK. Possible role of salt intake in the development of essential hypertension. In: Cottier P, Bock D, editors. Essential hypertension-an International Symposium. Berlin: Springer-Verlag; 1960

Taylor RS et al. Reduced dietary salt for the prevention of cardiovascular disease: a meta-analysis of randomized controlled trials (Cochrane Review). American journal hypertension [Internet]. 2011 Aug [cited 3 March. 2024];24(8):[about 843-53

พรทิพย์ นิ่มขุนทดและคณะ. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการรับประทานอาหารเค็มกับโรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจและหลอดเลือด. โครงการวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. 2560, 33.

Bureau of Non-Communicable Diseases, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Implementation guidelines for reducing salt and sodium consumption at the provincial level. Nonthaburi: Bureau of Non-Communicable Diseases, Department of Disease Control; 2023.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31