ประสิทธิผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว ในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว, 6MWT, คุณภาพชีวิตบทคัดย่อ
ภาวะที่หัวใจล้มเหลว ไม่ได้เป็นโรคแต่เป็นเพียงอาการและอาการแสดงที่เรื้อรังและรักษาไม่หายขาด หัวใจล้มเหลวจึงเป็นภาวะสุดท้ายของความรุนแรงในกลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเกือบทุกชนิด กลุ่มตัวอย่าง คือกลุ่มผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 35 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาสำหรับข้อมูลส่วนบุคคล และใช้สถิติเชิงอนุมานเพื่อทำการเปรียบเทียบระยะทางที่เดินได้ใน 6 นาที คุณภาพชีวิต ก่อนและหลัง ใช้สถิติ Paired t-test และเปรียบเทียบผู้ป่วย ก่อน ระหว่างดำเนินการ และหลังดำเนินการ โดย F – test แบบ repeated measure กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value < 0.05
ผลการศึกษา: กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยการประเมินสมรรถภาพทางกายด้วยการเดินให้ได้ระยะทางมากที่สุดในระยะเวลา 6 นาที (6MWT) หลังเข้าร่วมโปรแกรม นำมาเปรียบเทียบรายคู่ โดยการจับคู่ เดือนที่ 1 กับเดือนที่ 2 พบว่า ผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยระยะทางในการเดินเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ 1, เดือนที่ 1 กับเดือนที่ 4 พบว่า ผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยระยะทางในการเดินเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ 1 และ เดือนที่ 1 กับเดือนที่ 6 พบว่า ผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยระยะทางในการเดินเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ 1 ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และค่าเฉลี่ยการเดินออกกำลังกายให้ตามความสามารถผู้ป่วยตามระดับ %Predicted distance นำมาเปรียบเทียบรายคู่ โดยการจับคู่ ครั้งที่ 1 กับครั้งที่ 2 พบว่า ผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยการเดินออกกำลังกายเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับครั้งที่ 1, ครั้งที่ 1 กับครั้งที่ 3 พบว่า ผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยการเดินออกกำลังกายเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับครั้งที่ 1 และครั้งที่ 1 กับครั้งที่ 4 ซึ่งมีความแตกต่างกัน และประเมินคุณภาพชีวิต EQ-5D-5L พบว่ามีค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังการทดลองสูงมากกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ข้อเสนอแนะ ควรมีนโยบายให้นำการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจอื่น ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยได้มีองค์ความรู้และหลักการปฏิบัติตนเองเพื่อดูแลตนเองให้อยู่ระดับปกติให้มากที่สุด
References
Pollock ML, Pels AE, Foster C, Ward A. Exercise prescription for rehabilitation of the cardiac patient. In: Pollock ML, Schmidt DH, editors. Heart disease and Rehabilitation. New York: John Wiley & Sons;1986: 477 – 515.
ปิยะนุช รักพาณิชย์. การฟื้นฟูหัวใจเมื่อกลับบ้าน. ใน: วิศาล คันธารัตนกุล, ระพีผล กุญชร ณ อยุธยา. บรรณาธิการ. เวชศาสตร์ฟื้นฟูหัวใจ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: อภิสราอินเตอร์กรุป: 2548; 87-101.
ผ่องพรรณ อรุณแสง. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด. พิมพ์ครั้งที่ 10. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2556.
จรัญ สายะสถิตย์. ศัลยศาสตร์โรคหัวใจที่พบบ่อย. พิมพ์ครั้งที่ 1. พิษณุโลก:โกลบอลพริ้นท์; 2555.
วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย, ณัฐณภัทร วัฒนเดชาสกุล, รัชนี ผิวผ่อง, สุวรรณี มงคลรุ่งเรือง. แนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ: จากการสังเคราะห์งานวิจัยสู่การนำไปปฏิบัติ. วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติวิชาการ 2559; 20: 143-156.
ฐิติกัญญา ดวงรัตน์. Critical Care in CARDIOTHORACIC SURGERY: Sedation and analgesia in cardiothoracic surgery. ใน: เกรียงชัย ประสงค์สุกาญจน์, วีระชัย นาวารวงศ์, บรรณาธิการ. Critical Care in CARDIOTHORACIC SURGERY. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไฟรซ์ จำกัด; 2552: 59-71.
วาสนา รวยสูงเนิน. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบหัวใจและหลอดเลือด. พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.
Kumar R, Hote MP, Sharma G, Thakur B, Airan B. Comparison of Outcome in Male and Female Indian Patients Undergoing CABG, Activity Levels and Quality of Life: One Year Follow-Up Study. J Thorac Cardiovasc Surg 2017; 2: 29-34.
Fontes MT, Swift RC, Bute BP, Podgoreanu MV, Smith MS. Predictors of Cognitive Recovery after Cardiac Surgery. Anesth Analg 2013; 116:435-442.
Choiniere M, Watson JW, Victor C, Baskett RJF, Bussieres JS, Carrier M, et al. Prevalence of and risk factor for persistent postoperative nonanginal pain after cardiac surgery: a 2-year prospective multicenter study. Can Med Assoc J 2014; 186: 213-223.
American Thoracic Society. ATS Statement: Guidelines for the six-minute walk test. Am J Respir Crit Care Med 2002; 166:111-7.
Leurmarnkul W, Meetam P. Properties testing of the retranslated SF -36 (Thai version). Thai J Pharm Sci 2005; 29:69 – 88.
ปนัดดา ยาสุด และพจีมาศ กิตติปัญญางาม. คุณภาพชีวิต และอรรถประโยชน์ในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิด ณ ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ศรีนครินทร์เวชสาร 2564; 36(3):253-259.
นันทวัน ปิ่นมาศ, สาธนีย์ พันธ์กนกพงศ์ และวรุณนภา ศรีโสภาพ. ผลการฝึกกายภาพบำบัดที่บ้านแก่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเรื้อรังโดยนักกายภาพบำบัด. พุทธชินราชเวชสาร 2555; 29(2):190-197.
อมรรัตน์ ปะติเก. ผลการดูแลผู้สูงอายุที่ติดบ้านและติดเตียงที่บ้านโดยทีมสหสาขาวิชาชีพต่อคุณภาพชีวิต เขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2561.
นวดี เทศศรีเมือง. ผลของการออกกำลังกายด้วยยางยืดต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะ 3 อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาพสินธุ์วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2565;15(1): 73- 85 เข้าถึงได้จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/download/254338/174884/945671
กัญญา สุขะนันท์, ชาลีฮา สาและ และชนัยกานต์ แก้วอุทัย. (2565). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว โรงพยาบาลปัตตานี. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2565; 30(2): 67-80
อชิรญา ปักษา และ ธชาพิมพ์ สุขุมวาท. ผลของโปรแกรมการฟื้นฟูก่อนผ่าตัดที่มีต่อช่วงการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ เส้นรอบวงของแขน ความสามารถทางกาย และคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัด. วารสารวิชาการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ 2567; 6(2): 82-92 เข้าถึงได้จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jcra/article/view/261560/183678
ทัศนีย์ เวทยาวงศ์กุล, ศิริธัญญ์ ตัญบุญยกิจ และธเนศ สังข์ศรี. ประสิทธิผลโปรแกรมเสริมสร้างความรู้และทักษะของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลร่อนพิบูลย์, วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสาธารณสุข 2567; 9(2): 10-20
พรเทพ รอดโพธิ์ทอง, สริสสา แรงกล้า และ จิราภรณ์ ปาสานำ. การทดสอบด้วยการเดิน 6 นาทีและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวในจหลังเข้ารับบริการคลินิกฟื้นฟูหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. เวชศาสตร์ร่วมสมัย 2561; 61(6): 730-743
Wright DJ, Khan Km, Gossage EM, Saltissi S. (2001). Assessment of a low-intensity Cardiac rehabilitation programme using the six-minute walk test. Clin Rehabil 2001;15:119-24.
พรทิพย์ อ่อนเพชร. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ. ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2562 เข้าถึงได้จาก https://digital.car.chula.ac.th/cgi/viewcontent.cgi?article=10375&context=chulaetd
ทวีศักดิ์ สูตรภาษานนท์ และอภิจารี ชูศักดิ์. ผลลัพธ์ของการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจผู้ป่วยหลังการสวนหลอดเลือดหัวใจในระยะที่ 2 ในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร 2564; 18(2): 103-113 เข้าถึงได้จาก https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/9953/8821
Akila, P. (2016). Augmented walking program: a novel approach to functional status after coronary artery bypass grafting surgery. GSTF Journal of Nursing and Health Care (JNHC) 2016; 4(1):0-18.
ผุสดี พุฒดี, ปชาณัฏฐ์ ตันติโกสุม และนรลักขณ์ เอื้อกิจ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการมีกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจภายหลังได้รับการสวนหัวใจขยายหลอดเลือด. วารสารเกื้อการุณย์ 2560; 24(1):147-162.
ภาวินี เภารอด, วีระพงษ์ ชิดนอก, แพรวน้ำผึ้ง พนมชัยสว่าง และจรัญ สายะสถิตย์. การศึกษาความสามารถการออกกำลังกายด้วยการทดสอบความสามารถการเดินทางราบใน 6 นาทีในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิด โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล. สงขลานครินทร์เวชสาร 2559; 34(6):321-329.