คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเทพประทาน อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, คุณภาพชีวิตบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) แบบตัดขวาง (Cross -sectional Study) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและคุณภาพชีวิต และเปรียบเทียบความแตกต่างปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ประชากรที่ใช้ ในการศึกษา คือ ผู้สูงอายุในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเทพประทาน อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการเปิดตารางสำเร็จรูปของ เครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และที่ระดับความคลาดเคลื่อน 5% จำนวนทั้งหมด 220 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ที่ดัดแปลงมาจากแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อภาษาไทย (WHOQOL - BREF-THAI) ประกอบด้วย ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม โดยผู้วิจัยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบค่า t - test, One - way ANOVA
ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุเป็นเพศชาย ร้อยละ 53.64 มีอายุระหว่าง 60-69 ปี ร้อยละ 65.00 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 95.45 จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 40.00 ลักษณะที่พักอาศัยเป็นบ้านของตนเอง/คู่สมรส ร้อยละ 55.45 สถานะเป็นผู้อยู่อาศัย ร้อยละ 53.64 และไม่ได้ประกอบอาชีพ ร้อยละ 30.45 คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ ความสัมพันธ์ทางสังคม และสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ การศึกษา อาชีพ โรคประจำตัว ที่พักอาศัย และสถานะในครอบครัวมีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.05 ส่วนปัจจัยด้านเพศ และศาสนาไม่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่นัยสำคัญทางสถิติ
References
กรมการปกครอง สำนักบริหารงานทะเบียน. ประมวลผลจากข้อมูลทะเบียนราษฎร์ [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 25 มี.ค. 67]. เข้าถึงจาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/mainpage.
สำนักงานสถิติจังหวัดฉะเชิงเทรา. รายงานสถิติจังหวัดฉะเชิงเทรา. [อินเตอร์เน็ต]. 2567 [สืบค้นเมื่อ 21 มี.ค. 67]. เข้าถึงจาก https://chchsao.nso.go.th/reports-publications/provincial-statistics-report.html.
คลังข้อมูลสุขภาพฉะเชิงเทรา (HDC). ประชากรผู้สูงอายุ ปี 2566 จังหวัดฉะเชิงเทรา. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 21 มี.ค. 67]. เข้าถึงจาก https://cco.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php.
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ. เปรียบเทียบตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตของ WHO 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง. 2561.
วิไลพร ขำวงษ์ และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2559.
ชุติเดช เจียนดอน และคณะ. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชนบทอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2559.
อารดา ธีระเกียรติกำจร. คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2559.
ศิริพรรณ ชาญสุกิจเมธี. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคต่อมลูกหมากโต. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. 2560.
กนกพร สุคำวัง. แบบจำลองเชิงสาเหตุของคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโรคข้อเสื่อม. วิทยานิพนธพยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. 2560.
สมภพ เรืองตระกูล. ความเครียดและอาการทางจิตเวช. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์. 2560.
ธาริน สุขอนันต์ และคณะ. ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2559.