การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นตอนต้นในเขตเทศบาลตำบลยางตลาด ตำบลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • เกศสุดา สุริยะบุตร -
  • ชนะพล ศรีฤาชา -
  • วีณา อิศรางกูร ณ อยุธยา -

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นตอนต้น

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพ เปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความพึงพอใจก่อนและหลังการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นตอนต้นในเขตเทศบาลตำบลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์กลุ่มทดลอง จำนวน 82 คน โดยใช้เกณฑ์การคัดเลือก รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน Paired Sample t-test ค่าความเชื่อมั่น 95%
     การศึกษาวิจัย พบว่า ในกลุ่มทดลองหลังได้รับการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีค่าคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพิ่มขึ้นหลังได้รับการพัฒนาความรอบรู้ 15.09 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 7.07 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p-value < 0.001) ค่าคะแนนเฉลี่ยความความพึงพอใจ หลังได้รับการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพิ่มขึ้นหลังได้รับการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ ค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 3.92 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.55 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001)

References

World Health Organization: WHO. (2023). Adolescent pregnancy. Retrieved 17 June 2023. from:https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/112320/WHO_RHR_14.08_eng.pdf

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2566). อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 10-14 ปี ต่อประชากรหญิงอายุ 10-14 ปี พันคน ระดับเขตสุขภาพ. ค้นหาวันที่ 30 มีนาคม 2566 จาก https://anamai.moph.go.th/th.

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2565). รายงานผลการศึกษาความรอบรู้ด้านเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิต สำหรับวัยรุ่น อายุ 10 - 19 ปีพ.ศ. 2565. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2566 จาก https://rh.anamai.moph.go.th/.

อนามัยแม่และเด็ก เขตสุขภาพที่ 7. (2560). จำนวนเด็กและเยาวชนอายุต่ ากว่า 15 ปี ที่ตั้งครรภ์ (กบรส.) ปี พ.ศ. 2566. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2566 จาก https://hpc7.anamai.moph.go.th/th.

ภาสิต ศิริเทศ, กนิษฐา จำรูญสวัสดิ์, ศุภชัย ปิติกุลตัง และกรวรรณ ยอดไม้. (2560). ผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะชีวิตต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของนักเรียนหญิงมัธยมศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 47(3), 241-254.

วรารัตน์ สังวะลี และจุน หน่อแก้ว. (2565). ความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของนักเรียนหญิงในสถานศึกษาอาชีวศึกษา จังหวัดนครราชสีมา. วารสารควบคุมโรค. 48(1), 120-131

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29