ประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ ตำบลชื่นชม อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ปิยานุช งานหมั่น -
  • ชนะพล ศรีฤาชา -
  • วีณา อิศรางกูร ณ อยุธยา -

คำสำคัญ:

โปรแกรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้ เป็นวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ ตำบลชื่นชม อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม ประยุกต์ใช้แนวคิดของทฤษฎี  PRECEDE Framework เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ กลุ่มทดลอง จำนวน 52 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนด ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling ) รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน Paired Sample   t-test ค่าความเชื่อมั่น 95%
     การศึกษาวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 67.3) อายุส่วนใหญ่ อายุ 67 ปี (ร้อยละ 19.2) รองลงมาอายุ 68 ปี (ร้อยละ 15.4) และน้อยที่สุดอายุ 61 ปี (ร้อยละ 3.8) ส่วนใหญ่มีสถานะภาพสมรส/คู่ (ร้อยละ 78.8) การศึกษาสูงสุดระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 88.5) ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (ร้อยละ 80.8) มีรายได้แต่ไม่เพียงพอ (ร้อยละ 50)รองลงมา คือ มีรายได้และเพียงพอ (ร้อยละ 34.6) ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาไม่มีประวัติการหกล้ม (ร้อยละ 98.1) ไม่มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 75) มีผู้ดูแลในครอบรัว (ร้อยละ 51.9) กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มที่ปฏิบัติเป็นประจำ ได้แก่ เดินเกาะราวหรือใช้ไม้เท้า เมื่อต้องเดินบนพื้นลาดหรือต่างระดับ หรือการใช้ห้องน้ำ มีการจัดเครื่องใช้ในบ้านให้เป็นระเบียบไม่วางเกะกะกีดขวางการเดิน จัดให้มีแสงสว่างอย่างเพียงพอภายในบ้านโดยเฉพาะบริเวณทางเดินบันไดและในห้องน้ำ ค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มอยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{X}= 2.61, SD=0.36 ) หลังได้รับได้รับโปรแกรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ ค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{X}= 2.80, SD=2.20) ค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มเพิ่มขึ้นหลังได้รับโปรแกรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ ตำบลชื่นชม อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม ค่าคะแนนเฉลี่ย 0.19 คะแนน (95%CI = 2.19 ถึง 3) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value < 0.001) ค่าคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจหลังการได้รับโปรแกรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ ตำบลชื่นชม อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม ในกลุ่มทดลอง หลังได้รับโปรแกรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ ตำบลชื่นชม อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยความความพึงพอใจ อยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{X}= 4.73, SD=0.14)

References

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2557). สถานการณ์และแนวโน้มสังคมผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2556-2573.(พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพฯ:ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542.กรุงเทพฯ:นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่น.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2565). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2564.(พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพฯ:บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

อารีรัตน์ สุพุทธิธาดา,รัมภา บุญสินสุข,และ ไพลวรรณ สัทธานนท์. (2559). คู่มือการดูแลผู้สูงวัย:เดินดี ไม่มีล้ม.(พิมพ์ครั้งที่ 1).นนทบุรี:สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.).

สุรินทร์รัตน์ บัวเร่งเทียนทอง,อรทัย ยินดี. (2564). การศึกษาความเสี่ยงความกลัวการหกล้มและแนวทางการจัดการป้องกันการพลัดตกหกล้มผู้ที่มารับบริการในคลินิกผู้สูงอายุ.วชิรสารการพยาบาล, ปีที่ 23 (ฉบับที่ 2),30-43.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30