ความตระหนักรู้และพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการทำงานของพนักงานเก็บขยะ หลังสถานการณ์การระบาดรุนแรงของโรคโควิด-19 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • จรินทร์ทิพย์ ชมชายผล อาจารย์ ดร. สาขาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ธรรมวัฒน์ อุปวงษาพัฒน์ อาจารย์ ดร. สาขาสุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา Corresponding author
  • ประยุกต์ เดชสุทธิกร อาจารย์ สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • เสาวลักษณ์ อนันตะบุตร นักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • รัชนีกร เคะนะอ่อน นักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ดรุณี แก้วโงน นักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ศิริพร คำกลม นักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

ความตระหนักรู้, พฤติกรรม, พนักงานเก็บขยะ, โรคโควิด-19

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความตระหนักรู้และพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการทำงานของพนักงานเก็บขยะหลังสถานการณ์การระบาดรุนแรงของโรคโควิด-19 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร กลุ่มประชากร คือ พนักงานเก็บขยะในเขตอำเภอเมืองสกลนคร เก็บทั้งหมดจำนวน 112 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ในช่วงเดือน กรกฎาคม ถึง พฤศจิกายน 2565 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยสถิติที วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันแบบควบคุมตัวแปรกวน (partial’s correlation)
     ผลการวิจัยพบว่า ความตระหนักรู้ความรุนแรง ความเสี่ยง อุปสรรค และพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการทำงาน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ระดับคะแนนเฉลี่ยความตระหนักรู้ไม่แตกต่างกัน ความตระหนักรู้ความเสี่ยงในการทำงานมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอันตรายของพนักงานเก็บขยะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)        

References

Turner A, Baker S, Brown J. COVID-19 infection rates among waste collectors in the United States. J Environ Health. 2020;82(5):34-40.

Rossi R, Motta C, Pellegrini M. Occupational risk of COVID-19 infection among waste management workers in Italy. Int J Environ Res Public Health. 2021;18(12):6234.

กรมอนามัย. รายงานสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ในพนักงานเก็บขยะ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร. รายงานการสำรวจสุขภาพของพนักงานเก็บขยะในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร; 2562.

เขตสุขภาพที่ 8. COVID-19เขตสุขภาพที่ 8 [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ16มี.ค. 66].เข้าถึงจาก https://r8way.moph.go.th/r8way/covid-19

กรมควบคุมมลพิษ. ระบบสารสนเทศด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน. [อินเตอเน็ต]. 2565. [สืบค้นเมื่อ 20 ต.ค.65]. เข้าถึงจาก https://thaimsw.pcd.go.th/report1.php?year=2564

กรมควบคุมโรค. รายงานสถิติการบาดเจ็บจากการทำงานของพนักงานเก็บขยะ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

Best JW. Research in education. 4th ed. New Jersey: Prentice Hall; 1981.

DeVellis RF. Scale development: theory and application. 3rd ed. Chapel Hill: SAGE Publications, Inc.; 2012.

กรมอนามัย. รายงานสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ในพนักงานเก็บขยะ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

Kim H, Lee J. Factors influencing health behavior among waste collectors during the COVID-19 pandemic: A structural equation modeling approach. J Occup Health. 2020;62(3):132-140.

Sakurai K, Kato H, Yano E. Health promotion and occupational safety among waste management workers in Asia during COVID-19: A review. Environ Health Prev Med. 2018;23(1):23-34.

World Health Organization. Waste management during the COVID-19 pandemic: From response to recovery. Geneva: WHO; 2020.

Turner N, Baker T, Brown J. Training and protective equipment for waste collectors: An assessment of effectiveness. Int J Environ Res Public Health. 2019;16(5):289-297.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31