การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานในชุมชน กรณีศึกษา อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • นพดล พิมพ์จันทร์ ปร.ด.(สาธารณสุขศาสตร์), Ph.D.(Public health) สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

วัณโรคดื้อยาหลายขนาน, รูปแบบการรักษา, ชุมชนมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของ Kemmis และMcTaggart เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วย MDR-TB ในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย คือ 1) กลุ่มเป้าหมายในการจัดเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ และการพัฒนารูปแบบ จำนวน 15 คน และ 2) กลุ่มตัวอย่างที่จะทดลองใช้รูปแบบ คัดเลือกแบบเจาะจงจากผู้ดูแลผู้ป่วย MDR-TB จำนวน 6 คน ดำเนินการวิจัยที่อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ ระหว่างเดือน ตุลาคม 2566 – สิงหาคม 2567 เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการรักษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ
     ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการดูแลผู้ป่วย MDR-TB ในชุมชน มี 5 ขั้นตอน คือ 1) การพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และผู้ดูแลผู้ป่วยในด้านการดูแลรักษาผู้ป่วยต่อเนื่องที่ชุมชนและการส่งต่อข้อมูลทั้งในสถานบริการและในชุมชน 2) การรักษาด้วยการมีพี่เลี้ยงดูแลการรับประทานยาต่อหน้า ต้องเป็นคนที่ผู้ป่วยไว้วางใจและมีจำนวนมากกว่า 1 คน และใช้ระบบรายงานผ่านแอพลิเคชันไลน์ 3) การให้กำลังใจผู้ป่วยและครอบครัว โดยเฉพาะกรณีที่มีปัญหายุ่งยากและซับซ้อน จะดำเนินการด้วยรูปแบบการจัดการรายกรณี โดยสหวิชาชีพ และภาคีเครือข่ายในชุมชน 4) การจัดการสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนของผู้ป่วยและในชุมชนตามบริบท และ 5) การมีระบบการนัดหมายบริการ การเยี่ยมบ้านโดยใช้แผนการดูแลผู้ป่วยรายกรณี และการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อตรวจติดตามการรักษา ผลจากการทดลองใช้รูปแบบพบว่า ผู้ป่วย MDR-TB มีพฤติกรรมการดูแลตนเองในระดับดี ผลการรักษาเมื่อระยะเวลาผ่านไป 6 เดือน มีผลการเพาะเชื้อเชื้อเป็นลบ ติดต่อกัน 2 ครั้ง พฤติกรรมการดูแลผู้ป่วย MDR-TB โดยรวมอยู่ในระดับดี (equation=13.66, SD =1.05)

References

โสภิต ชาลี, สุวรรณี สิริเศรษฐภักดี, เกรียงชัย เอกา. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังและควบคุมวัณโรคดื้อยาหลายขนานในชุมชน กรณีศึกษาจังหวัดสุรินทร์. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2564;28(3):109-20.

มนวิภา ริยาพันธ์, สมเกียรติยศ วรเดช, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. การดื้อยาหลายขนานในผู้ป่วยวัณโรคปอด : การทบทวนวรรณกรรม. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2564;7(4):4-16.

World Health Organization. Global tuberculosis report 2018. Geneva: World Health Organization; 2018.

Nahid P, Mase SR, Migliori GB, Sotgiu G, Bothamley GH, Brozek JL, et al. Treatment of Drug-Resistant Tuberculosis. An Official ATS/CDC/ERS/IDSA Clinical Practice Guideline. Am J Respir Crit Care Med. 2019;200(10):e93-e142.

World Health Organization. Global tuberculosis report 2021. Geneva: World Health Organization; 2021.

World Health Organization. Global tuberculosis report 2020. Geneva, Switzerland: WHO; 2020.

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์และการเฝ้าระวังวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (Extensively drug-resistant TB:XDR-TB) นนทบุรี: กองวัณโรค กรมควบคุมโรค; 2564 [15 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://tbcmthailand.ddc.moph.go.th/

มุกดา วิเศษ, นพดล พิมพ์จันทร์. การพัฒนารูปแบบการป้องกันวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมากโดยกระบวนการชุมชนมีส่วนร่วม. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2563;27(2):1-11.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. ผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา (RR-TB, MDR–TB, Pre-XDR, XDR-TB ) จังหวัดสุรินทร์ ปี 2562-2566 สุรินทร์: กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ; 2566 [เข้าถึงได้จาก: https://surin.moph. go.th/SPHO_Meeting_sys/upload/Files/59_1226_983_698395.pdf.

World Health Organization. WHO consolidated guidelines on drug-resistant tuberculosis. Geneva: World Health Organization; 2019.

Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. 3rd ed. Geelong,Victoria: Deakin University Press; 1988.

อรทัย ศรีทองธรรม, อมรรัตน์ จงตระการสมบัติ, อุบลศรี ทาบุดดา, ศิริวรรณ อุทธา, ชุติมา ผลานันท์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการขาดยาและการรักษาล้มเหลวในผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2560;16:S289-S98.

Ağca FD, Süer Aİ, Beyaz GÇ. DOT-VOT Implementation of Tuberculosis Patients between 2012-2018. 2019;54(suppl 63):PA5281.

พันธ์ชัย รัตนสุวรรณ. การรักษาวัณโรค: DOT vs. VOT. วารสารสถาบันบำราศนราดูร. 2561;12(1):43-7.

พาขวัญ วิชชุตเวส, ปริญญาภรณ์ ธนะบุญปวง. ปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกื้อหนุนต่อการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคปอดในผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับบริการ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 2563;3(3):64-77.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31