การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเขตพื้นที่ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
อนามัยสิ่งแวดล้อม, โรงเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและชีวภาพและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเขตพื้นที่ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 2 แห่ง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินอนามัยสิ่งแวดล้อม แบบประเมินมาตรฐานส้วมสาธารณะ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการตรวจการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียในน้ำบริโภค และอาหาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า โรงเรียนผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลอาหาร ร้อยละ 100 ยกเว้นประเด็นการบำบัดน้ำเสียก่อนทิ้งลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50.00 และมีการใช้เขียงเฉพาะอาหารสุกและอาหารดิบแยกจากกัน ผ่านเกณฑ์เพียงร้อยละ 50.00 ส่วนมาตรฐานส้วมสาธารณะผ่านเกณฑ์ทุกด้าน ร้อยละ 100 แต่อย่างไรก็ตาม ประเด็นกระดาษชำระเพียงพอต่อการใช้งานและการระบายอากาศดี ไม่มีกลิ่นเหม็นผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50.00 พบการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียในบ่อบาดาล ร้อยละ 100 รองลงมาคือ น้ำประปา ร้อยละ 25.00 และไม่พบการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียในน้ำบรรจุขวดปิดสนิท ร้อยละ 100 นอกจากนี้ ไม่พบการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียในมือผู้สัมผัสอาหาร ร้อยละ 100 แต่พบมากที่สุดในอาหาร รองลงมาคือ ภาชนะสัมผัสอาหาร ร้อยละ 20.00 และ 16.67 ตามลำดับ
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค พยากรณ์โรคฯ ฉบับที่ 23/2565 “เตือนเด็กวัยเรียนระวัง 5 โรคที่พบบ่อยในช่วงหน้าฝน” [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 66]. เข้าถึงจาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=26143&deptcode=brc&news_views=2851.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: โครงการผลิตสื่อและมัลติมีเดีย
สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น); 2560.
รพีพรรณ ยงยอด, และรัตนี คำมูลคร. การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนในเขตพื้นที่การประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2561; 13:56-68.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์อนามัยสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2563 [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 66]. เข้าถึงจาก: http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER17/DRAWER002/GENERAL/DATA0004/00004106.PDF.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ พ.ศ.2556. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม; 2556.
อรพิมพ์ มงคลเคหา. คู่มือการบำบัดน้ำมันและไขมันโดยใช้ถังดักไขมันอย่างง่าย [รายงานการวิจัย]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา; 2562.
กนิษฐา พอนทุม, อดิศักดิ์ สิงห์สีโว, และชลทิศ พันธุ์ศิริ. การส่งเสริมการจัดการขยะโดยธนาคารขยะโรงเรียนเทศบาลบ้านค้อ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน 2559; 1:1-10.
สุกฤตา ปุณยอุปพัทธ์, พงศ์ภัทร เกียรติประเสริฐ, และประสงค์สม ปุณยอุปพัทธ์. อาหารและเครื่องดื่มบาทวิถี: ความปลอดภัยของผู้บริโภค. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย 2563; 4(2):8-24.
World Health Organization. Food safety is everyone’s business at home [Internet]. 2022 [cited 2023 Jun 16]. Available from: https://apps.who.int/iris/rest/bitstreams/1424730/retrieve.
เจาะลึกระบบสุขภาพ. ย้ำ! ร้านอาหาร พนักงานครัว คนปรุงอาหาร ยังต้องสวมแมสก์ เพื่อสุขอนามัย [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 66]. เข้าถึงจาก: https://www.hfocus.org/content/2022/06/25408.
อำพร ท่าดะ, ซุรียาณี อาบูวะ, และดารีนา อาบูวะ. สภาวะสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนประถมศึกษาเขตพื้นที่การศึกษายะลาเขต 2. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย 2561; 3:1-7.
จิราภรณ์ หลาบคำ, จินตนา ศิริบูรณ์พิพัฒนา, และวิษณีย์ แก่นคง. การสุขาภิบาลอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี 2560; 19(3):108-118.
ลักษณีย์ บุญขาว และนฤมล นามวงศ์. การประเมินมาตรฐานห้องส้วมและการตรวจการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ในห้องส้วมสาธารณะ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2562; 21(3): 140-151.
ชนานุช พันธ์เพียง และพัชรา เกษมศิริ. การประเมินมาตรฐานส้วมและการทดสอบการปนเปื้อนแบคทีเรียโคลิฟอร์มในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสกลนคร. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน 2562; 7:68-76.
พรสุดา ผานุการณ์, และพีระยา สมชัยยานนท์. การพัฒนาระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหารในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ 2563; 3(2):52-61.
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. Sustainable Development Goals (SDGs) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 66]. เข้าถึงจาก: https://soc.swu.ac.th/news/sustainable-development-goals-sdgs.
จิรารัตน์ อุณหศิริกุล, และชำนาญ เชาวกีรติพงศ์. การพัฒนาระบบสารสนเทศงานบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษาโรงเรียนสุราษฎร์ธานี 2. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2566; 13(2):135-154.