การพัฒนารูปแบบการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของพนักงานในสถานประกอบการ กรณีศึกษา สถานประกอบการแห่งหนึ่งในจังหวัดสระบุรี
คำสำคัญ:
รูปแบบการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพแบบมีส่วนร่วม, พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์, พนักงานในสถานประกอบการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ,พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของพนักงานในสถานประกอบการแห่งหนึ่งในจังหวัดสระบุรี เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพแบบมีส่วนร่วมของพนักงานในสถานประกอบการแห่งหนึ่งในจังหวัดสระบุรีและเพื่อศึกษาผลของรูปแบบการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของพนักงานในสถานประกอบการแห่งหนึ่งในจังหวัดสระบุรี คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง (sample size) โดยใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นกลุ่มพนักงานที่ยังไม่เป็นโรค มี BMI มากกว่า 23 กก/ม และเป็นกลุ่มแกนนำที่ทางสถานประกอบการคัดเลือก ได้จำนวนผู้เกี่ยวข้องสำหรับการวิจัยทั้งหมด 40 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสอบถามประเมินความรอบรู้สุขภาพระดับบุคคล ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสำรวจ ส่วนที่ 2 แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ 3) แบบสัมภาษณ์เรื่องแนวทางการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยนำข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสำรวจ ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา โรคประจำตัว น้ำหนัก ส่วนสูง รอบเอว มาจัดกลุ่มแจกแจงเป็นความถี่ ร้อยละ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์โดยใช้สถิติ Paired Samples t–test แนวทางการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ นำมาวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อจัดหมวดหมู่เนื้อหา นำมาสังเคราะห์เป็นประเด็นร่วมและประเด็นหลัก แล้วอธิบายเนื้อหา สรุปผล
ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างคะแนนเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพ หลังการให้ความรู้ด้านสุขภาพ ในกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (p<.0.01) เปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ด้านพฤติกรรมการออกกำลังกาย หลังการให้ความรู้ด้านสุขภาพ ในกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (p<.0.01) ด้านพฤติกรรมการนอน หลังการให้ความรู้ด้านสุขภาพ ในกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (p<.0.01) แต่ด้านพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก และพฤติกรรมการกิน หลังการให้ความรู้ด้านสุขภาพ ไม่แตกต่างกัน
References
กองโรคไม่ติดต่อ. ประชาชนรอบรู้สู้โรคไม่ติดต่อ.กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด; 2566.
กองโรคไม่ติดต่อ. สถิติการสูบบุหรี่ของคนไทย. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2557.
สำนักส่งเสริมสุขภาพ. การส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ. กรุงเทพฯ: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2566.
ภักดี มวลชน. การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. กรุงเทพมหานครฯ.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2022.
อังศินันท์ อินทรกำแหง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: การวัดและการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2560.
วริษา กันบัวลา ณ ชนกเอียดสุยและอาภรณ์ ดีนาน. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและระดับไขมันในเลือดของผู้ที่มีไขมันในเลือดผิดปกติ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564; 29(3): 1-4.
Nutbeam D. Health Literacy and adolescents: a framework and agenda for future research. Health Education Research. Oxford: Oxford University Press.; 23(5): 2008.
กองโภชนาการ. โรคอ้วนลงพุง.กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2550.
Palumbo R, Annarumma C, Adinolfi P, Musella M, Piscopo G. The Italian Health Literacy Project: Insights from the assessment of health literacy skills in Italy. Health Policy (New York) [Internet]. 2016;120(9):1087–94. Available from: http://dx.doi.org/10.1016/j.healthpol.2016.08.007