การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีภาวะปอดอักเสบ: กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • วรัญญา ไชยะวงษ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การพยาบาล, ติดเชื้อในกระแสเลือด, ปอดอักเสบ

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีภาวะปอดอักเสบ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ เข้ารับการรักษาที่ หอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม และหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ตั้งแต่ระยะวิกฤต ระยะการดูแลต่อเนื่อง ระยะฟื้นฟูและวางแผนการจำหน่าย รวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วย ญาติและเวชระเบียน การประเมินอาการ ซักประวัติ ตรวจร่างาย เพื่อให้ทราบปัญหา ความต้องการของผู้ป่วย เพื่อนำข้อมูลมากำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล วางแผนการพยาบาล โดยใช้แนวคิดการประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็มในการดูแลผู้ป่วย และมีการประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาลเป็น 3 ระยะ ดังนี้ การพยาบาลระยะวิกฤต การพยาบาลระยะฟื้นฟู และการพยาบาลระยะจำหน่าย
     ผลการศึกษา: จากการศึกษากรณีศึกษา ทั้ง 2 ราย พบว่าพยาบาลมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วย ตั้งแต่การรวบรวมข้อมูล ชักประวัติ ประเมินอาการ การเฝ้าระวังอาการของผู้ป่วย การจัดกิจกรรมพยาบาลเพื่อให้ตรงกับความต้องการและปัญหาของผู้ป่วยในแต่ละราย ดังนั้นพยาบาลจึงต้องมีสมรรถนะ ตั้งแต่การประเมิน การคาดการณ์โอกาสเสี่ยง การประสานงานกับทีมสหวิชาชีพ การให้ข้อมูล เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาพยาบาลที่รวดเร็ว ครอบคลุมมีประสิทธิภาพทันเวลา เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยลดอัตราการเสียชีวิตผู้รับบริการพึงพอใจ บุคลากรมีความปลอดภัย

References

Timsit, JF., Ruppé, E., Barbier, F. et al. Bloodstream infections in critically ill patients: an expert statement. Intensive Care Med 46, 266–284 (2020). https://doi.org/10.1007/s00134-020-05950-6

Centers for Disease Control and Prevention [CDC]. (2022). National Healthcare Safety Network (NHSN) Patient Safety Component Manual. U.S. Department of Health and Human Services. https://www.cdc.gov/nhsn/pdfs/pscmanual/pcsmanual_current.pdf

Markwart, R., Saito, H., Harder, T., Tomczyk, S., Cassini, A., Fleischmann-Struzek, C., Reichert, F., Eckmanns, T., & Allegranzi, B. (2020). Epidemiology and burden of sepsis acquired in hospitals and intensive care units: A systematic review and meta-analysis. Intensive Care Medicine, 46(8), 1536-1551. https://doi.org/10.1007/s00134-020-06106-2

ศูนย์ข้อมูล โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. สรุปรายงานตัวชี้วัดปีงบประมาณ 2564-2567. กาฬสินธุ์ กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์, 2567.

Gordon, M. (1994). Nursing diagnosis: Process and Application. New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31